ข้อความต้นฉบับในหน้า
ทันโลกทันธรรม
ของท่านรู้สึกเหงาและโดดเดี่ยว เป็นความโดดเดี่ยว
และความเหงาที่เกิดขึ้นท่ามกลางผู้คนมากมาย
มหาศาล คิดว่าในกรุงเทพฯ คนที่รู้สึกอย่างนี้ก็มีไม่
น้อยเหมือนกัน เวลาไปตามห้างสรรพสินค้า ไป
ตามสถานีรถไฟฟ้า หรือเดินตามถนน แม้มีคน
มากมาย แต่ก็เหงา เพราะว่าไม่รู้จักใคร ยิ่งเทคโนโลยี
ก้าวหน้ามากขึ้น บางครั้งในบ้านเดียวกัน พ่อ แม่ ลูก
ยังแทบไม่ค่อยได้คุยกัน ต่างคนต่างก็นั่งอยู่หน้าจอ
คอมพิวเตอร์ จอใครจอคนนั้น เข้าอินเทอร์เน็ตบ้าง
เล่นเกมส์บ้าง มีโลกส่วนตัวอยู่ในนั้น แต่ละคน
มีความรู้สึกว่าตัวเองแปลกแยกกับสังคมรอบตัว
มากขึ้นเรื่อย ๆ ถามว่าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร
ลองมาดูในระดับชุมชนกันก่อน ทำไมคน
ในชนบทรู้จักกัน แต่คนในกรุงไม่ค่อยรู้จักกัน เรา
อย่าไปโทษว่าเป็นเพราะคนในกรุงไม่มีน้ำใจ จริง ๆ
ๆ
แล้วไม่ใช่ แต่เป็นเพราะวิถีชีวิตต่างกัน ในชนบท
เขาทำการเกษตร ทำไร่ ไถนา ปลูกพืช ปลูกผัก
เลี้ยงสัตว์ แล้วก็อยู่กันมาตั้งแต่ปู่ ย่า ตา ยาย งาน
ที่ทำอยู่บางคราวก็มีกิจกรรมให้ต้องทำร่วมกัน เช่น
คนที่ทำนา ถึงเวลาก็ต้องไปลงแขกช่วยกันเกี่ยวข้าว
นวดข้าว วันนี้เกี่ยวข้าวนาของฉัน เธอมาช่วย วันที่
เกี่ยวข้าวนาของเธอ ฉันจะไปช่วยเธอ สลับกันไป
มีกิจกรรมให้ต้องช่วยกันอย่างนี้ตลอด ทำให้รู้จัก
คุ้นเคยกัน ถึงคราวจะพักผ่อนหย่อนใจก็ไปที่วัด
เพราะวัดเป็นแหล่งรวมทุกอย่าง ไปถึงฝ่ายหญิงเข้า
ครัวช่วยเตรียมข้าวปลาอาหาร ฝ่ายชายช่วยกัน
เตรียมสถานที่ แล้วก็ฟังพระเทศน์ด้วยกัน และ
ช่วยกันทำงานบุญต่าง ๆ เช่น ขนทรายเข้าวัดเพื่อ
ก่อเจดีย์ทราย หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ อีกมากมาย
ฉะนั้น คนในชุมชนจึงมีกิจกรรมร่วมกันตลอดเวลา
ถ้าหากทุกคนเข้าใจ
เกี่ยวกับเรื่องบุญ
เรื่องวัฏสงสาร
เรื่องนรก สวรรค์
บุญ บาป
ชีวิตจะมีเป้าหมาย
ไม่เคว้งคว้างไปวัน ๆ หนึ่ง
"