บทบาทของเศรษฐีและคหบดีในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน ธันวาคม พ.ศ.2553 หน้า 87
หน้าที่ 87 / 128

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับบทบาทและความสำคัญของเศรษฐีและคหบดีในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศไทย โดยเฉพาะการช่วยเหลือในด้านงานเผยแผ่และการตั้งวัดในท้องถิ่น เราจะเห็นถึงการที่เศรษฐีมีความใกล้ชิดกับรัฐบาลและมีอำนาจในการตัดสินใจที่มีผลต่อการพัฒนาของพระพุทธศาสนา ขณะที่คหบดีมีบทบาทใกล้ชิดกับประชาชน ซึ่งทำให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในการสร้างความเข้าใจและความศรัทธาในชุมชน เราเห็นถึงการมีส่วนร่วมในการสร้างวัด การดูแลพระภิกษุ และการเชื่อมโยงพระพุทธศาสนากับประชาชน โดยทั้งสองกลุ่มมีบทบาทสำคัญในการขยายงานพระพุทธศาสนาอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ

หัวข้อประเด็น

-บทบาทเศรษฐี
-คหบดี
-การเผยแผ่พระพุทธศาสนา
-การสร้างวัด
-ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนและพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ตัวอย่างเช่น อนาถบิณฑิกเศรษฐี ท่านมีชื่อจริงว่า สุทัตตเศรษฐี ดำรงตำแหน่ง เศรษฐีสืบต่อจากบิดา แต่เพราะท่านตั้งโรงทานเพื่อแจกจ่ายอาหารแก่คนทุกข์ยากในเมือง สาวัตถี ชาวเมืองจึงขนานฉายานามใหม่ให้ท่านว่า อนาถบิณฑิกเศรษฐี แปลว่า “เศรษฐี ผู้มีก้อนข้าวสำหรับคนยากจน” หรือ “เศรษฐีผู้เป็นที่พึ่งของคนยาก” ซึ่งเป็นการเรียกชื่อตาม ความเป็นผู้มีใจบุญของท่านนั่นเอง ดังนั้น ด้วยเหตุเหล่านี้ “เศรษฐี” จึงเป็นตำแหน่งทางราชการที่บ่งบอกถึงฐานะ ความร่ำรวยของประเทศ และสภาพเศรษฐกิจสังคมของประชาชน โดยผู้เป็นเศรษฐีมี หน้าที่จะต้องเข้าเฝ้าพระราชา เพื่อรายงานสภาพสังคม สภาพเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิต ของประชาชน ให้พระราชาทรงทราบสถานการณ์ทั้งในอาณาจักรและนอกอาณาจักร เพื่อ จะได้ตระเตรียมนโยบายต่าง ๆ เพื่อบำบัดทุกข์และบำรุงสุขให้ประชาชนได้อย่างทันการณ์ นั่นเอง ๆ ดังนั้น ด้วยข้อดีของการเป็นที่ยอมรับจากพระราชานี้เอง จึงทำให้เศรษฐีมีบทบาท อย่างมากในการขยายงานพระพุทธศาสนาไปในวงกว้างอย่างรวดเร็ว เพราะได้มีโอกาสนำ พระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปกราบทูลให้พระราชาทราบอยู่เสมอ และยัง ได้รายงานถึงข้อดีต่าง ๆ เกี่ยวกับการอนุญาตให้พระภิกษุทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในแว่นแคว้นของตน ทำให้ไม่เป็นที่หวาดระแวง และได้รับความสะดวกในการสร้างวัดใน ท้องถิ่นต่าง ๆ ตามมา เพราะมีเศรษฐีเป็นตัวเชื่อมระหว่างพระพุทธศาสนากับพระราชานั่นเอง ขณะเดียวกัน “คหบดี” ในแต่ละท้องถิ่น ก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน เพราะ เป็นเหมือนผู้เข้ามาช่วยอุดช่องว่างรอยโหว่ในการทำงานเผยแผ่ของเหล่าเศรษฐีได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้เพราะไม่มีภาระทางด้านราชการ จึงมีเวลาลงสำรวจพื้นที่มากกว่า สร้างความคุ้นเคย สนิทสนมกับชาวบ้านได้คล่องตัวกว่า ทำให้ชาวบ้านกล้าที่จะเปิดใจพูดคุยปัญหาในชีวิต ประจำวันได้โดยตรง ไม่ต้องปิดบัง ทำให้มีความใกล้ชิดประชาชนมากกว่าผู้ดำรงตำแหน่ง เศรษฐี ดังนั้น ด้วยข้อดีของคหบดี ที่เป็นผู้ใกล้ชิดประชาชนนี้เอง จึงทำให้มีเวลาดูแล พระภิกษุสงฆ์ได้ทั่วถึงทุกพื้นที่ โดยไม่มีตกหล่นหรือตกค้างให้ท่านตกระกำลำบากในการ บำเพ็ญสมณธรรม เพราะมีคหบดีเป็นตัวเชื่อมระหว่างพระพุทธศาสนากับประชาชนนั่นเอง ดังนั้น การเพิ่มขึ้นของจำนวนวัด การเพิ่มขึ้นของจำนวนพระภิกษุ การเพิ่มขึ้นของ จำนวนชาวพุทธในแต่ละท้องถิ่นนั้น จึงต้องอาศัยกำลังของ “เศรษฐี” และ “คฤหบดี” ประจำท้องถิ่น ในการทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งใน “เชิงกว้าง” และ “เชิงลึก” ควบคู่ กันไป การเผยแผ่เชิงกว้าง คือการอาศัยความน่าเชื่อถือของตัวเอง ช่วยเป็นประชาสัมพันธ์ ให้ชาวบ้านชาวเมืองในดินแดนที่ยังไม่มีศรัทธา ให้เกิดการยอมรับในพระพุทธศาสนาได้ อย่างรวดเร็ว เพื่อไม่ให้เกิดความหวาดระแวงจากทางราชการและเกิดแรงต้านจากชาวเมือง ท้องถิ่น ทั้งนี้เพราะต้องการเพิ่มจำนวนวัดให้เกิดขึ้นในท้องถิ่นนั้นอย่างรวดเร็วและทั่วถึง
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More