บทบาทของเศรษฐีและคหบดีในสมัยพุทธกาล วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน ธันวาคม พ.ศ.2553 หน้า 86
หน้าที่ 86 / 128

สรุปเนื้อหา

การเจริญเติบโตของชุมชนในสมัยพุทธกาลเกิดจากการเผยแผ่ศาสนาพุทธ โดยมีเศรษฐีและคหบดีมีบทบาทสำคัญในการนี้ ซึ่งการเรียกชื่อตำแหน่งแสดงถึงฐานะทางสังคมส่วนการแต่งตั้งตำแหน่งเศรษฐีต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบความโปร่งใสของทรัพย์สิน โดยพระราชาจะประกาศและมอบฉัตรประจำตำแหน่งเศรษฐีเมื่อทั้งหมดถูกต้อง หลายคนมักตั้งฉายานามให้กับเศรษฐีตามพฤติกรรมเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะของแต่ละคน

หัวข้อประเด็น

-บทบาทของเศรษฐี
-ตำแหน่งคหบดี
-การเผยแผ่ศาสนาพุทธ
-ขั้นตอนการแต่งตั้งเศรษฐี
-ประวัติศาสตร์พุทธกาล

ข้อความต้นฉบับในหน้า

วัดนั้นผ่านไปห้าปีสิบปี ท้องถิ่นนั้นก็รุ่งเรืองด้วยคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะ มีพระภิกษุทั้งที่เป็นนวกะ มัชฌิมะ และเถระเพิ่มขึ้นจำนวนมาก และจารึกกันออกไปอยู่ จำพรรษาทั้งในวัดบ้านและวัดป่าอย่างทั่วถึงทุกหมู่บ้านนั่นเอง ในสมัยพุทธกาล แม้ว่า “เศรษฐี” กับ “คหบดี” จะมีฐานะทางสังคมที่แตกต่างกัน มาก แต่ก็มีส่วนสำคัญในการขยายงานเผยแผ่ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ในยุคนั้นคำว่า “คหบดี” หรือ “คฤหบดี” หมายถึง ชาวบ้านผู้มีฐานะมั่งคั่งร่ำรวย แต่ไม่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเศรษฐีจากพระราชา ส่วนคำว่า “เศรษฐี” หมายถึง ชาวบ้านที่มีฐานะมั่งคั่งร่ำรวยที่สุดในเมืองนั้น และ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเศรษฐีจากพระราชาโดยตรง ดังนั้น ในยุคพุทธกาล การเรียกผู้ใดเป็นเศรษฐี จึงหมายถึงความหมายอย่างเป็น ทางการ คือผู้ดำรงตำแหน่งเศรษฐีที่พระราชาแต่งตั้งให้ ส่วนการเรียกผู้ดำรงตำแหน่งเศรษฐีอย่างไม่เป็นทางการว่า “คฤหบดี” หรือ “คหบดี” ก็มีอยู่เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น จิตตคฤหบดี อุบาสกผู้เลิศด้วยการแสดงธรรม โดยฐานะตำแหน่ง ท่านคือเศรษฐีประจำเมืองมัจฉิกสัณฑะ แคว้นมคธ แต่ชาวบ้านชาวเมืองนิยมเรียกท่านว่า คฤหบดี ซึ่งเป็นการเรียกตามความประสงค์ของเจ้าตัวบ้าง ตามความนิยมของสังคมบ้าง ตามความคุ้นเคยกันมาแต่เดิมบ้าง สำหรับขั้นตอนการแต่งตั้งตำแหน่งเศรษฐีอย่างเป็นทางการในครั้งแรกนั้น จะต้อง ประกอบด้วย ๑. คหบดีจะต้องนำทรัพย์สินทั้งหมดมาแสดงไว้ที่พระลานหลวง เพื่อให้พระราชา ทรงเห็นและชาวเมืองรับรู้เป็นพยาน ๒. เจ้าพนักงานของรัฐตรวจสอบความโปร่งใสของที่มาของทรัพย์สินและประเมิน จำนวนทรัพย์สินทั้งหมดว่ามีมูลค่าราคาเท่าไร ๓. นำตัวเลขจำนวนทรัพย์สินที่ได้ไปประเมินเทียบเคียงกับบัญชีทรัพย์สินของเศรษฐี อื่น ๆ ที่มีอยู่ก่อนหน้านั้น ๔. เมื่อตรวจสอบแล้วว่า ในเมืองนั้นไม่มีทรัพย์สินของผู้ใดมากกว่านี้อีกแล้ว พระราชา ก็จะทรงให้การรับรองและประกาศแต่งตั้งให้เป็นเศรษฐีคนใหม่ทันที ๕. เมื่อพระราชาพระราชทาน “ฉัตรประจำตำแหน่งเศรษฐี” ให้แล้ว ก็ถือว่าบุคคล นั้นได้ดำรงอยู่ในตำแหน่งเศรษฐีอย่างสมบูรณ์ แบบเป็นทางการแล้ว หลังจากแต่งตั้งแล้ว ตระกูลนั้นย่อมถูกยกระดับฐานะเป็น “ตระกูลเศรษฐี” บุตรชาย สามารถสืบทอดตำแหน่งเศรษฐีประจำเมืองต่อจากบิดาได้ ผู้คนทั้งบ้านทั้งเมืองก็จะจดจำ ผู้นั้นไว้ในฐานะของเศรษฐี การวางตัวของผู้นั้นก็จะตกอยู่ในสายตาของคนทั้งบ้านทั้งเมือง ทันที โดยชาวเมืองก็มักจะนิยมตั้งฉายานามตามพฤติกรรมของเศรษฐีผู้นั้นต่อท้ายชื่อ หรือ เรียกฉายาเป็นชื่อใหม่เลยก็มี 20
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More