การสร้างวัดเพื่อการศึกษา วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน ธันวาคม พ.ศ.2553 หน้า 88
หน้าที่ 88 / 128

สรุปเนื้อหา

การสร้างวัดเป็นการร่วมมือของเศรษฐี คฤหบดี และชาวบ้าน ประกอบด้วยการสร้างวัด การเชิญพระภิกษุ และการเผยแผ่ธรรมะ เพื่อพัฒนาจิตใจและการศึกษาพระพุทธศาสนาในท้องถิ่น ทำให้ชุมชนมีปัจจัยทางการศึกษาและส่งเสริมความร่ำรวยทางจิตใจ.

หัวข้อประเด็น

-การสร้างวัดเพื่อการศึกษา
-การเผยแผ่พระพุทธศาสนา
-การรวมพลังศรัทธา
-การสนับสนุนชุมชน
-การศึกษาและการเรียนรู้

ข้อความต้นฉบับในหน้า

20 ทุกหมู่บ้านด้วยความเต็มใจต้อนรับการบังเกิดขึ้นของพระรัตนตรัยในท้องถิ่นของตนนั่นเอง การเผยแผ่เชิงลึก คือ การใช้ทรัพย์สินส่วนตัวเป็นกองทุนทำงานเผยแผ่พระพุทธ ศาสนา ตั้งแต่ ของตน 6). การสร้างวัดแห่งแรกให้เกิดขึ้นในท้องถิ่นนั้น ๒. การเชิญพระภิกษุเถระจากวัดที่เป็นศูนย์กลางการเผยแผ่มายังท้องถิ่นของตน การส่งเสริมการศึกษาเล่าเรียนธรรมะของพระภิกษุที่บวชเพิ่มขึ้นใหม่ในท้องถิ่น ๓. ๔. การชักชวนประชาสัมพันธ์ชาวบ้านชาวเมืองในท้องถิ่นนั้นมาบำเพ็ญบุญกุศล และฟังธรรมยังวัดที่ตนเป็นผู้สร้าง &. อีกทั้งยังรับเป็นเจ้าภาพอุปัฏฐากเลี้ยงดูพระภิกษุทั้งหมดในวัดนั้นทั้งที่อยู่ประจำ ทั้งที่เป็นอาคันตุกะ โดยไม่ให้ขาดตกบกพร่องแม้แต่มื้อเดียว ทั้งนี้เพราะต้องการให้ จำนวนพระและจำนวนชาวพุทธในท้องถิ่นนั้นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อมาช่วยกันเผยแผ่ พระพุทธศาสนาให้กระจายไปทั่วถึงทุกพื้นที่ จนเกิดเป็นวัฒนธรรมชาวพุทธประจำท้องถิ่น นั่นเอง อย่างไรก็ตาม นอกจากเศรษฐีและคฤหบดีแล้ว การสร้างวัดเพื่อการศึกษายังเกิด จากการรวมพลังศรัทธาของ “กลุ่มชาวบ้าน” ในระดับรากหญ้าอีกแรงหนึ่งด้วย โดยเฉพาะ ชาวบ้านที่อยู่ใน “เมืองใหญ่” หรือ “หมู่บ้านใหญ่” ซึ่งเป็นสถานที่ชุมนุมของเส้นทาง การค้าที่เชื่อมต่อกับหัวเมืองต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน วิธีการสร้างจะใช้การระดมทุนทรัพย์ในหมู่บ้านและการระดมกำลังคน เพื่อช่วย กันสร้างวัดประจำท้องถิ่น ซึ่งเป็นความขวนขวายในการแสวงหาโอกาสเพื่อเล่าเรียนศึกษา พุทธพจน์ นับเป็นที่น่ายกย่องอนุโมทนาอย่างยิ่ง หลังจากนั้น หัวหน้าหมู่บ้านก็จะเดินทาง ไปนิมนต์พระภิกษุจากเวฬุวนารามบ้าง เชตวนารามบ้าง บุพพารามบ้าง หรืออาราธนา พระธุดงค์ให้อยู่ประจำที่นั่นบ้าง เพื่อให้หมู่บ้านของตนมีครูสอนศีลธรรม อันเป็นโอกาส แห่งการบรรลุธรรมตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเข้านิพพานไปนั่นเอง ดังนั้น หากกล่าวโดยสรุปในเรื่อง “วัดเพื่อการศึกษา” ก็คือ การรวมพลังศรัทธา ของ “สามประสาน” ในท้องถิ่นนั้น ได้แก่ เศรษฐี คหบดี และกลุ่มชาวบ้าน ที่พร้อมใจ ช่วยกันสร้าง “วัดเพื่อการศึกษา” เพื่อทำงานเผยแผ่ทั้งในเชิงลึกและเชิงกว้าง เป็นพลัง ความสามัคคีของท้องถิ่น ส่งผลให้งานเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาลหยั่งราก ฝังลึกในจิตใจมหาชน และแผ่ขยายขจรขจายในวงกว้างได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การตรัสรู้ ของพระองค์ทรงคุณค่าอย่างยิ่ง ไม่สูญเปล่า การประดิษฐานพระพุทธศาสนาจึงเป็นปึกแผ่น มั่นคงได้ทันกับเวลาอายุสังขารของพระพุทธองค์ ดังตัวอย่างเช่น อัมพาฏกวันของ จิตตคฤหบดี เป็นต้น (อ่านต่อฉบับหน้า)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More