นวัตกรรมเพื่อการเปลี่ยนแปลงเมือง วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน ธันวาคม พ.ศ.2553 หน้า 92
หน้าที่ 92 / 128

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เสนอเกี่ยวกับนวัตกรรมที่จะเปลี่ยนแปลงเมืองในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยจะมีการมุ่งเน้นที่การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองอัจฉริยะ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีในการปรับอาคารให้ฉลาดขึ้น เพื่อให้การติดต่อสื่อสารมีความคล่องตัวมากขึ้น อย่างไรก็ตาม มีความสำคัญที่เราจะไม่มองข้ามนวัตกรรมด้านจิตใจ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถเปลี่ยนแปลงเมืองได้เช่นกัน ในปัจจุบันเราเห็นว่าประชากรในเมืองกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากคนในชนบทอพยพเข้ามาในเมืองเพื่อหางาน ทำให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับผู้คน แต่ความรู้สึกของการเป็นชุมชนมักจะหายไปในเมืองใหญ่ ซึ่งแตกต่างจากชนบทที่ผู้คนรู้จักกันดี

หัวข้อประเด็น

-นวัตกรรมในเมือง
-การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
-พัฒนาจิตใจในเมือง
-การเปลี่ยนแปลงของชุมชน
-การอพยพเข้ามาในเมือง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๙๐ ทันโลกทันธรรม เรื่อง : พระมหาสมชาย ฐานวุฑโฒ (M.D., Ph.D.) จากรายการทันโลกทันธรรม ออกอากาศทางช่อง DMC ochrym นวัตกรรม ที่จะเปลี่ยนแปลง "ลก” นวัตกรรมที่จะเปลี่ยนแปลงเมืองทั่วโลก ในอีก ๕ ปีข้างหน้า ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับเรื่อง คอมพิวเตอร์ คือ เอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ ในการปรับเมืองให้เป็นเมืองอัจฉริยะ ปรับตึกให้เป็น ตึกอัจฉริยะ ทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปด้วยความ คล่องแคล่ว แต่ที่อยากให้พวกเราให้ความสำคัญ ก็คือ นวัตกรรมที่เกี่ยวกับเรื่องจิตใจ เพราะเป็นสิ่ง ที่มีความสำคัญกับเรามาก และจะช่วยเปลี่ยนแปลง เมืองทั่วโลกในอีก 4 ปีข้างหน้าเช่นเดียวกัน ภาวะความเป็นจริงที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน คือ เมืองขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ คนในชนบทอพยพมา อยู่ในเมืองมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะว่าเมืองเป็นทั้งแหล่ง เรียนหนังสือ เป็นทั้งแหล่งทำงานที่ให้ผลตอบแทน มากกว่าในชนบท โอกาสที่มากกว่าจึงเป็นแรงดึงดูด ให้คนมาอยู่ในเมืองมากขึ้น ยิ่งมาอยู่มาก ก็ยิ่งเกิด ระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ มารองรับผู้คนจำนวน มาก แต่สิ่งที่ต่างกันก็คือ ในชนบทคนรู้จักกันเกือบ ทั้งหมู่บ้าน แต่คนในเมืองที่อยู่ในหมู่บ้านจัดสรร หรือตึกแถวที่ติด ๆ กัน บ้านอยู่ใกล้ ๆ กัน อยู่มา เป็น ๑๐ ปี ก็ยังไม่รู้จักกัน อาจจะเคยทักกันคำสองคำ ยิ่งถ้าห่างออกไป ๒ - ๓ บ้าน บางที่อยู่มาแล้วเป็น 5 ปี ไม่เคยคุยกันเลยก็มี ถามว่าในหมู่บ้านจัดสรร ที่อาจมีสัก ๕๐๐ หลังคาเรือน จะรู้จักกันถึง ๕ หลังคาเรือนหรือเปล่า แต่ในชนบท ๕๐๐ หลังคา เรือน อาจจะรู้จักกัน กันถึงรุ่นพ่อ รุ่นปู่ ๑๐ ๓๐๐-๔๐๐ หลังคาเรือน รู้จัก มีอาจารย์ท่านหนึ่ง เรียนจบปริญญาเอกจาก ญี่ปุ่น เล่าให้อาตมาฟังก่อนที่อาตมาจะไปญี่ปุ่นว่า ในโตเกียวมีคนอยู่ ๑๐ กว่าล้านคน เวลาท่านเดิน ในโตเกียว รอบ ๆ ตัวมีคนเดินพลุกพล่าน แต่ในใจ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More