การสร้างวินัยและภูมิคุ้มกันในองค์กร วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน ตุลาคม พ.ศ.2553 หน้า 76
หน้าที่ 76 / 108

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงความสำคัญของการสร้างวินัยในองค์กร โดยเน้นการกำหนดระเบียบที่ชัดเจนและมีเหตุผล การปรับวินัยให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และวิธีการทำให้สมาชิกในองค์กรปฏิบัติตามวินัยอย่างถูกต้อง นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงการสร้างภูมิคุ้มกันขององค์กรที่เปรียบเสมือนการป้องกันมะเร็งในร่างกาย การทำให้การสื่อสารภายในองค์กรมีประสิทธิภาพและการดูแลสุขภาพจิตของสมาชิก ด้วยการทำบุญ รักษาศีล และการฝึกปฏิบัติธรรม เพื่อให้เกิดความเข้าใจและความสามัคคีภายในองค์กร.

หัวข้อประเด็น

-การสร้างวินัย
-ความสำคัญของระเบียบ
-ภูมิคุ้มกันในองค์กร
-การสื่อสารที่ดี
-การดูแลสุขภาพจิตในองค์กร

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ไว้อย่างรัดกุม ทั้งหนัก ทั้งเบา คนทำผิดครั้งแรก พระองค์จะทรงถือว่าเป็นอาทิกรรมิกะ คือ ถือว่าเป็น ต้นบัญญัติ ยกประโยชน์ให้จำเลยไป แต่ก็ทรงวาง ระเบียบไว้ว่า จากนี้ไปใครจะทำอีกไม่ได้ แล้วทรง ค่อย ๆ บัญญัติวินัยขึ้นมาทีละข้อ ๆ โดยมีที่มาที่ไป ทุกข้อ ถ้าอยู่ ๆ ประกาศระเบียบขึ้นมา ๓๐๐ ข้อ คนก็ไม่รู้ที่มาที่ไปว่าทำไมระเบียบมากเหลือเกิน เข้มไปหรือเปล่า แต่ถ้าทุกข้อมีที่มาที่ไป มีหลักการ และเหตุผลในการบัญญัติระเบียบข้อนั้น ยิ่งถ้า ๆ บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ด้วย คนก็มีแนวโน้ม ที่จะยอมรับสูง และถ้าตั้งกติกาขึ้นมาแล้ว เวลาใช้ จริง ๆ ยังใช้การได้ไม่ดีพอ ก็ต้องปรับเนื้อหา อย่าง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงปรับเหมือนกัน ที่เรียกว่า อนุบัญญัติ ทรงปรับเป็นระยะ ๆ ปรับจนกระทั่ง สมบูรณ์แล้วจึงใช้สืบทอดมาถึงปัจจุบัน ฉะนั้น องค์กรแต่ละแห่งก็ต้องมีกฎระเบียบ ที่ชัดเจน มีที่มา ที่ไป เป็นเหตุ เป็นผล สอดคล้อง กับสถานการณ์ ให้ทุกคนถือปฏิบัติเหมือนกันหมด ทั้งองค์กร ใครทำไม่ถูกต้องก็ว่าไปตามกติกา หนัก เบาแค่ไหน อย่างไร ก็ว่าไปตามนั้น เช่น ถ้าทำ อาบัติปาราชิก ๔ ข้อ ก็ต้องขาดจากความเป็นพระ พ้นจากความเป็นสมาชิกภาพขององค์กรคณะสงฆ์ พระองค์ทรงบอกไว้อย่างชัดเจนว่า กระทำอย่างไร เป็นอาบัติสังฆาทิเสส ต้องไปอยู่กรรม คล้าย ๆ โทษจำคุกทางโลก ซึ่งเป็นที่รับทราบทั่วไปว่า ใคร ทำผิดก็ต้องผ่านกระบวนการทำตัวเองให้บริสุทธิ์ตาม ที่พระองค์ทรงกำหนดเอาไว้ มีหนักมีเบาแยกกันไป ตามเรื่องราวที่กระทำ คือ ทรงให้กฎระเบียบของ องค์กรไว้ชัดเจน มีเหตุ มีผล มีที่มา ที่ไป ที่ทุกคน รับทราบและยอมรับถือปฏิบัติตรงกัน วินัยนี้เอง ที่เป็นตัวกรองหมู่คณะ กรองสมาชิก ใครเป็นเซลล์ ผิดเพี้ยนจะถูกวินัยกรองและคัดแยก วินัยจึงเป็น เสมือนภูมิคุ้มกันให้เราไปในตัวด้วย พระองค์ตรัสว่าจะปฏิบัติต่อสงฆ์ทั้งหลาย แบบไม่ทะนุถนอมเลย แต่พระองค์จะกระหนาบแล้ว กระหนาบอีกไม่มีหยุด ชี้โทษแล้ว ชี้โทษอีก ไม่มี หยุด “ผู้ใดมีมรรคผลเป็นแก่นสาร ผู้นั้นจึงจะทน เราได้" ฉะนั้น ตั้งวินัยให้ดี ให้เข้มงวดกวดขัน แต่ยุติธรรมสำหรับทุก ๆ คน อย่างนี้จะรักษา เอกภาพในองค์กรได้เป็นอย่างดี และสัมพันธ์กับ ข้อแรกด้วย คือ ทำให้เกิดความเข้าใจกัน เวลา เกิดอะไรขึ้นข่าวสารจะถึงกันหมด และรู้ว่าตัดสิน อย่างนั้นเพราะอะไร ทำเรื่องนี้เพราะอะไร ไม่ทำ เพราะอะไร ถ้าระบบการสื่อสารดี กติกาทุกอย่าง ในองค์กรดีโอกาสเกิดมะเร็งจะมีน้อย ๓. ระบบภูมิคุ้มกัน วินัยจัดเป็นภูมิคุ้มกัน อย่างหนึ่ง แต่ภูมิคุ้มกันนี้บางทีก็อ่อนกำลังได้ เหมือนกัน ถ้าในแง่ของมะเร็งในร่างกาย คนที่ ภูมิคุ้มกันอ่อนลง บางทีเกิดจากกรรมพันธุ์ต้นแบบ วางไว้ไม่ดี เจ้าตัวก็ต้องปรับแก้ให้สมบูรณ์ขึ้น แต่ บางทีต้นแบบดี ตัวยืนไม่มีปัญหา กรรมพันธุ์ไม่มี ปัญหา แต่เกิดจากตัวคนมีความเครียด เช่น พักผ่อน น้อยและมีเรื่องกลุ้มใจมาก ทำให้ระบบการทำงาน ของร่างกายแปรปรวน ภูมิคุ้มกันก็จะรวนไปด้วย องค์กรก็เหมือนกัน บางทีกรอบวินัยทำไว้ อย่างดี แต่พนักงานเกิดความเครียด เลยไม่ค่อย อยากทำตามวินัย เกิดรวนขึ้นมา อย่างนี้ก็เป็นไปได้ วิธีแก้ต้องให้สมาชิกในองค์กรรู้จักการพักใจ วิธีที่ดี ที่สุด คือ สร้างบุญ ทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา พอบุญหล่อเลี้ยงใจ ใจจะผ่องใส สว่างไสว ชุ่มชื่น แล้วจะมีพลังใจทำสิ่งดี ๆ กันต่อไป แล้วบุญกุศล สิ่งที่ดีงามนี้ จะหลอมรวมใจทุกคนให้เป็นหนึ่งได้ อีกด้วย เพราะฉะนั้น ผู้บริหารองค์กรทุกท่านควรจะเป็น ผู้นำให้สมาชิกในองค์กรประพฤติปฏิบัติธรรม พอใจ นิ่ง ๆ นุ่มนวลผ่องใสแล้ว ปัญหาจะหมดไปโดย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More