ข้อความต้นฉบับในหน้า
50
๐ มม เม
เรื่อง : โค้ก อลงกรณ์ (www.banyaibook.com)
ทางลัด
เพื่อเลี่ยงการจราจรที่ติดขัดแถวสามแยกตลาดไท ผมจึงตัดสินใจหักพวงมาลัยเลี้ยวเข้าถนนเลียบ
คลอง
จากนั้นก็ขับไปตามเส้นทางที่เคยได้ยินมาว่าสุดท้ายจะต้องขับเข้าซอยเล็ก ๆ ที่สามารถทะลุ
ออกไปยังถนนใหญ่ได้
เส้นทาง ไม่ว่าจะตรง อ้อม ขรุขระหรือคดเคี้ยวเพียงใดก็ตาม หากช่วยให้เราไปถึงจุดหมาย
ได้รวดเร็วและปลอดภัย ทางเส้นนั้นสำหรับผม คือ “ทางลัด”
ขณะที่ขับตามสัญชาติญาณของผู้ใช้ถนนไปเรื่อย ๆ ผมได้ผ่านจุดสังเกตแต่ละจุดที่ตรงกัน
กับรายละเอียดตามที่ได้ยินได้ฟังมา ยิ่งเป็นการเติมความมั่นใจเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ว่า เราขับมา
ถูกทาง
และความมั่นใจนี้เองที่ทำให้ผมนึกถึงเส้นทางสัญจรอีกเส้นทางหนึ่งที่ยังเดินหน้าต่อไปไม่ได้
ยังติด ๆ ขัด ๆ อยู่ เส้นทางที่ว่านี้คือ “เส้นทางเดินของใจ
ผมเคยเปรียบเทียบเรื่องนี้เพื่อให้เห็นพัฒนาการในการเดินทางของตัวเองว่าอยู่ในระดับไหน โดยได้
แบ่งเส้นทางเดินของใจออกเป็นระดับต่าง ๆ จากพื้นฐานง่าย ๆ ไปจนขั้นสูง
ถ้าเริ่มต้นระดับชั้นอนุบาลมีระยะทางรวมแล้วจากวัดพระธรรมกายไปถึงสนามบินดอนเมือง
หากผมไปถึงดอนเมืองแล้วก็จะขยับระดับขึ้นไปยังชั้นประถม มัธยม อุดมศึกษา ด้วยการ
เดินทางต่อไปยังภาคเหนือ ภาคใต้ หรือขึ้นเครื่องบินไปยังต่างประเทศ
ทั้ง ๆ ที่อยากเดินทางไปได้ไกล ๆ เหมือนคนอื่น แต่เป็นเพราะเหตุใดไม่ทราบ แค่
สนามบินดอนเมืองหรือขยับใกล้เข้ามาแค่ตลาดรังสิต ผมกลับเดินทางไปไม่เคยถึงสักที
ล่าสุดลองขยับเป้าหมายให้ใกล้เข้ามาอีกเหลือแค่ตลาดบางขันธ์ พอเริ่มออกเดินทางจาก
วัดก็มักไปติดอยู่แถวสามแยกตลาดไททุกที แล้วก็ติดแช่อยู่อย่างนั้นไปไม่เคยถึงบางขันธ์
ทำไมถึงไปต่อไปไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่ถนนหนทางก็โล่งว่าง ไม่มีรถติด ไม่มีสัญญาณไฟ น่าจะ
ติดขัดอะไรสักอย่างระหว่างผมกับถนนสายนี้ และนี่เองทำให้ผมนึกถึง “ทางลัด”
ย้อนนึกถึงวันหนึ่งในห้องปฏิบัติธรรม
เมื่อได้สังเกตวิธีที่หลวงพ่อแนะนำผู้ปฏิบัติธรรมแต่ละท่าน ในวันนั้นทำให้ผมได้รู้ว่า การ
ที่เรามีครูผู้คอยชี้ช่องส่องเส้นทางที่เหมาะสมให้นั้น นอกจากเราจะเดินทางได้ราบรื่นไม่ติด ๆ
ขัด ๆ แล้ว ยังทำให้เราไม่ต้องเสียเวลาหาที่ยูเทิร์นเมื่อมารู้ตัวภายหลังว่าเรากำลังแล่นออกนอก
เส้นทาง
แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเราแล่นตรงดิ่งไปยังจุดหมายหรือเปล่า เราก็ต้องเพิ่มความสังเกต
ochrym