เช้าอันชื่นบาน: มหาทานและดอกบานชื่น วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2552  หน้า 11
หน้าที่ 11 / 100

สรุปเนื้อหา

เช้าตรู่ของวันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2552 เป็นวันที่เหล่าศิษยานุศิษย์ได้บำเพ็ญมหาทานด้วยการตักบาตรพระภิกษุสามเณรกว่า 15,000 รูป ณ แผ่นดินดอกบัว อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี ในวันครบรอบ 125 ปีพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ซึ่งเป็นวันสำคัญที่มีความหมายต่อมวลมนุษยชาติ นอกจากนี้ยังมีบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความชื่นบาน โดยมีดอกบานชื่นเป็นสัญลักษณ์แห่งความสุขและมงคล ซึ่งดอกบานชื่นมีประโยชน์ที่ใช้เป็นไม้ดอกไม้ประดับ และมีความหมายที่ส่งเสริมความสดชื่น มีการขยายพันธุ์ได้ง่ายและโตเร็ว โดยมุ่งหวังให้เป็นทางเดินสู่ความหลุดพ้น

หัวข้อประเด็น

-วันสำคัญในประวัติศาสตร์
-การถวายมหาทาน
-ความหมายของดอกบานชื่น
-พระมงคลเทพมุนี
-การเข้าถึงสันติสุข

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เช้าอันชื่นบาน ถวายมหาทานท่ามกลางทิวแถวแห่งบานชื่น เช้าตรู่ของวันเสาร์ที่ 4 ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นเช้าแห่งความชื่นบานของเหล่าศิษยานุศิษย์ ทั้งหลาย ที่ได้บำเพ็ญมหาทานด้วยการตักบาตร พระภิกษุสามเณร ถึง ๑๕,๐๐๐ กว่ารูป ณ แผ่นดิน ดอกบัว อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี ในวาระวันคล้าย วันเกิดครบรอบ ๑๒๕ ปี พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย แผ่นดินผืนนี้ คือ แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์และมีความหมายต่อมวลมนุษยชาติ เพราะเป็นแผ่นดินที่รองรับการบังเกิดขึ้นด้วยรูปกาย เนื้อของท่าน บรรยากาศแห่งการถวายมหาทานใน ครั้งนี้เต็มไปด้วยความชื่นบานท่ามกลางทิวแถวแห่ง ดอกบานชื่นทั้ง ๓ สี สำหรับดอกบานชื่นนั้น ถือเป็น ไม้ล้มลุกขนาดเล็ก อยู่ในวงศ์ Compositae เป็น ดอกไม้ที่คนไทยทั่วไปรู้จักกันดี และนิยมปลูกกัน มากไม่แพ้ดอกไม้ยอดนิยมชนิดอื่น ๆ เพราะปลูกง่าย โตเร็ว แข็งแรง ทนทาน มีมากมายหลายสี และ ขยายพันธุ์ได้ง่ายด้วยเมล็ด นอกจากนี้ ยังมีชื่อที่ เป็นคำไทยแท้มีความหมายเป็นมงคล ทั้งคำว่า บาน ที่หมายรวมถึง เบิกบาน ผลิบาน แย้มบาน รวมถึง ความสุข ส่วนคำว่า ชื่น หมายถึง ความสดชื่น ชื่นชม ชื่นใจ ชุ่มชื่น ชื่นเย็น เป็นต้น ล้วนแต่เป็นลักษณะ ที่พึงปรารถนาทั้งสิ้น ประโยชน์หลักของบานชื่น คือ ใช้เป็นไม้ดอก ไม้ประดับ เนื่องจากมีดอกที่โดดเด่น สะดุดตา มีสีสันหลากหลาย มีรูปทรงต่าง ๆ ให้ เลือกมากมาย ดอกบานชื่นซึ่งเสมือนหนึ่งสัญลักษณ์ แห่งความชื่นบานและนามแห่งดอกบานชื่นก็เป็น มงคลนาม เป็นนิมิตหมายแห่งการเข้าถึงสันติสุข ภายในตามมรรควิถีแห่งผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ซึ่งเป็นหนทางสายเอก สายเดียวสู่ความหลุดพ้น ที่พระเดชพระคุณหลวงปู่ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านได้ค้นพบขึ้น อีกครั้งหลังถูกอวิชชาปิดบังมายาวนาน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More