ทำไมคนทำดีถึงมีคนเกลียด วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2552  หน้า 68
หน้าที่ 68 / 100

สรุปเนื้อหา

ในบทความนี้พูดถึงความรู้สึกที่คนทำดีอาจเผชิญเมื่อมีคนเกลียด หรือไม่ชอบตน โดยเน้นให้เราเข้าใจว่าไม่ว่าทำดีอย่างไร เราต้องไม่ท้อถอย พระมหาสมชาย ฐานวุฑโฒ อธิบายถึงสังคหวัตถุ ๔ ที่จะช่วยให้การกระทำดีนั้นเป็นที่ยอมรับ ได้แก่ ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา และสมานัตตตา ซึ่งหากทำครบถ้วนถึงจะได้ผลดีอย่างแท้จริง ผู้ทำดีควรมีวิธีการสื่อสารและการแบ่งปันที่เหมาะสม และขอให้มั่นใจว่าทำดีแล้ว ย่อมมีคนรักและขอบคุณในที่สุด รับฟังความรู้จากพระอาจารย์เพื่อเข้าใจคุณค่าของการทำดีในสังคม

หัวข้อประเด็น

-ทำดีและความเกลียด
-หลักธรรมในพุทธศาสนา
-สังคหวัตถุ ๔
-การให้และแบ่งปัน
-การสื่อสารที่มีประโยชน์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ทันโลก ทันธรรม เรื่อง : พระมหาสมชาย ฐานวุฑโฒ (M.D., Ph.D.) จากรายการทันโลก ทันธรรม ออกอากาศทางช่อง DMC outrym ทําไม..ดนทําดี ถึงมีคนเกลียด ? ทำไมคนทำดีถึงมีคนเกลียด...ปกติคนทั่วไป เมื่อเราทำดีเขาจะชอบ จะพอใจ และจะรักเรา แต่พอทำดีแล้วเขาเกลียด เราก็รับไม่ได้เหมือนกัน บางคนเลยรำพึงรำพันว่า เฮ้อ! ทำดีไม่ได้ดี หรือ ทำคุณบูชาโทษบ้าง ทำบุญคุณกับใครไม่ขึ้นบ้าง คิดไปสารพัด อยากให้เรามองกันอย่างนี้ว่า เวลาเราจะทำ ๆ อะไรดี ๆ สักอย่าง เราก็คาดหวังว่าจะได้รับผลลัพธ์ ที่ดี แต่บางครั้งหลาย เรื่องที่เราเคยทำในอดีต คนอื่นอาจไม่ค่อยชอบใจ พอปุบปับเราทำสิ่งดี ๆ ขึ้นมา เขาอาจมองว่า เอ๊ะ! จริงหรือเปล่า เพราะฉะนั้น ต้องใจเย็น ๆ ขอให้มั่นใจว่า ถ้าเราทำได้ถูกดี ถึงดี และพอดี เราจะต้องได้ดีแน่ ๆ ซึ่งเรื่องนี้พระสัมมา สัมพุทธเจ้าทรงให้หลักคิดไว้ว่า ถ้าเราทำดีแล้ว ให้ ยึดหลักสังคหวัตถุ ๔ เอาไว้ คือ ทาน ปิยวาจา ๆ ๆ อัตถจริยา และสมานัตตตา ถ้าเรามีครบถ้วน ๔ ประการนี้แล้ว รับรองว่ามีแต่คนรักแน่นอน มาดูว่า แต่ละข้อเป็นอย่างไรบ้าง ๑. ทาน คือ การให้ การแบ่งปัน การมีน้ำใจ เรื่องนี้สำหรับคนที่หมั่นทำดีด้วยการให้ทาน การ แบ่งปัน น่าจะสอบผ่าน ถ้ายังทำเรื่องนี้ไม่ดี ก็ต้อง รู้จักให้ รู้จักแบ่งปัน แต่ถ้าเราอุตส่าห์ช่วยเขาแล้ว แบ่งปันให้เขาแล้ว เขายังเกลียดเราอยู่อีก เรื่องนี้ก็ น่าจะสัมพันธ์กับความชอบความไม่ชอบด้วย ต้องไป สำรวจดูข้อต่อ ๆ ไปว่า เราบกพร่องข้อไหนหรือเปล่า ๒. ปิยวาจา มาดูว่าเราขาดปิยวาจาหรือไม่ คำว่า “ปิยวาจา” ไม่ได้แปลว่า พูดเพราะ ๆ อย่าง เดียว ความหมายที่เป็นสาระจริง ๆ คือ การที่รู้จัก สื่อสารกับคนอื่นให้เขาเข้าใจว่า สิ่งที่เราทำมี ประโยชน์อย่างไร ดีกับเขาอย่างไร เราตั้งใจดีอย่างไร
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More