ความรักและความรู้สึกในมนุษย์ วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2552  หน้า 70
หน้าที่ 70 / 100

สรุปเนื้อหา

คนเรามักตัดสินใจว่าเรารักหรือไม่รักใคร โดยใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล แม้ว่าคนที่เรารักจะมีคุณสมบัติดีมากมาย แต่การทำผิดเพียงเล็กน้อยอาจทำให้เราไม่ชอบเขาได้ การตัดสินผู้สมัครการเมืองก็เช่นเดียวกัน อารมณ์มักมีบทบาทสำคัญในการเลือกที่จะสนับสนุนหรือไม่. เราควรสร้างประโยชน์ให้กับคนรอบข้างและใช้ความพยายามในการทำความเข้าใจผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อไป.

หัวข้อประเด็น

-การตัดสินใจและอารมณ์
-ความสำคัญของการมีประโยชน์แก่ผู้อื่น
-ความสัมพันธ์และการให้เกียรติผู้อื่น
-การเมืองและการเลือกตั้ง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

คนที่น่ารักมาก ขอย้ำว่า คนเราตัดสินกันบางครั้ง อารมณ์มีน้ำหนักมากกว่าเหตุผล คือ เวลาคนเรา จะสรุปว่ารักหรือไม่รักใครคนหนึ่ง ไม่ใช่ว่าเอาทุก ๆ อย่างที่คน นั้นทำมาให้คะแนน แล้วมาบวกกัน แบบคะแนนสอบ แล้วก็ตัดสินให้เกรด คนทั่วไป ไม่ได้ทำอย่างนั้น คนนี้อาจจะดีมา ๙๐ อย่าง แต่มาทำสักเรื่องสองเรื่องที่ไม่ถูกใจจริง ๆ เข้า ๆ พลิกกลับเป็นเกลียดเลยก็มี หนุ่มสาวชอบกัน ไม่ใช่ว่าหญิงสาวจะประเมิน ชายหนุ่มว่า คนนี้ความประพฤติแต่ละเรื่องทำกับ เราดีไม่ดีอย่างไรบ้าง แล้วมาตัดเกรดว่าจะให้ใคร เกรดเอ แล้วถึงจะชอบคนนั้น ก็ไม่ใช่ บางทีไปถึง กันแค่บางประเด็นก็ชอบเขาแล้ว แต่บางคนพอ เจอกันก็ไปขัดใจบางประเด็นเข้า ก็เลยไม่ชอบเขา ทั้ง ๆ ที่เรื่องอื่นทั้งหลายเรื่องเขาก็ดี แต่คนที่เราชอบ อีกหลายๆ เรื่องก็ไม่ได้ดีมากไปกว่าคนที่เราเกลียด มันเป็นเรื่องของอารมณ์ ลองสังเกตดูผู้สมัครรับเลือกตั้ง ทำไมผู้สมัคร ประธานาธิบดีอเมริกาจะต้องมาเช็กแฮนด์กับเขาไป ทั่วถึงคราวก็จะต้องพยายามไปปราศรัยให้มากที่สุด การไปปราศรัยยังพอเข้าใจได้ว่า เป็นการแถลง นโยบายให้เขาฟัง จะได้เข้าใจ แต่การจับมือ หรือ แจกลายเซ็นไม่เห็นจะเป็นเรื่องของเหตุผลอะไรเลย เป็นเรื่องของอารมณ์ล้วน ๆ คนที่ได้จับมือกับผู้สมัคร รู้สึกว่า ผู้สมัครมาหาเราถึงที่เคยเช็กแฮนด์กันมาแล้ว และมาอุ้มลูกเรา มาหอมแก้มลูกเรา จะต้องให้ คะแนนเสียงคนนี้เป็นผู้บริหารประเทศ เพราะดีใจที่ อุตส่าห์มาหอมแก้มลูกเรา เห็นไหมว่า การตัดสินว่า จะเลือกผู้สมัครคนหนึ่ง บางครั้งไม่ได้ดูนโยบาย อย่างอื่นเลย ตัดสินเพราะว่าเขามาอุ้มลูกเรา แล้ว หอมแก้มเรา หอมแก้มลูกเรา รู้สึกว่าเขาให้เกียรติ เรา ก็พอใจให้คะแนนแล้ว คนเราทั่วไปมักจะเป็น อย่างนี้ เพราะฉะนั้นเราจะมองแต่ปัจจัยเรื่องเหตุผล อย่างเดียวไม่ได้ เรื่องอารมณ์เป็นสิ่งสำคัญ อย่าลืม ให้เกียรติกับคนทุกคนที่เราได้สัมพันธ์เกี่ยวข้องด้วย แล้วเราก็จะมีแต่คนรักเต็มบ้านเต็มเมือง ไปถึงไหน มีเมตตามหานิยมติดตัวตลอด ๓. อัตถจริยา ประพฤติตนเป็นประโยชน์ คือ เราจะต้องฝึกให้ตัวเองเป็นคนมีประโยชน์ ต้องสร้าง ประโยชน์ให้กับเขา แล้วเขาจะรักเรา ซึ่งตรงนี้มี นัยแฝงอยู่เหมือนโจทย์ที่ถามว่า เราทำดีแล้วทำไม มีคนเกลียด ก็เป็นเพราะถ้าเราทำเรื่องที่สำคัญและ เกี่ยวข้องกับคนมากขึ้นเท่าไร เรื่องแต่ละเรื่องจะมี ทั้งคนได้ประโยชน์ ในขณะเดียวกันอาจจะมีคนเสีย ประโยชน์แฝงอยู่ด้วย คือ ดีสำหรับคนส่วนใหญ่ ร้อยละ ๙๐ แต่มีคนอีกร้อยละ ๑๐ รู้สึกว่าเสีย ประโยชน์ ซึ่งคนเหล่านี้อาจไม่ชอบเรา ยากมากที่ นโยบายอะไรออกมาแล้วจะเป็นประโยชน์ต่อทุกคน ร้อยเปอร์เซ็นต์ ส่วนมากมักจะเป็นว่า คนส่วนใหญ่ ได้ประโยชน์ แต่ยังมีคนส่วนน้อยบางส่วนรู้สึกว่า ตัวเองเสียประโยชน์หรือได้ไม่เท่าคนอื่น คนเรานี่ แปลกทีเดียว ถ้าไม่ได้เหมือนกันทุกคนไม่มีปัญหา แต่ถ้าได้แล้วคนอื่นได้มากกว่า คนที่ได้น้อยกว่าจะ ไม่พอใจขึ้นมา รู้สึกไม่ยุติธรรม มันเป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้นจึงเป็นข้อคิดว่า เมื่อเราจะทำเรื่องอะไร ก็ตามอย่ามองแต่ได้อย่างเดียว ให้มองเสียด้วย คือ ดูว่าเรื่องที่เราจะทำมีใครได้รับผลกระทบบ้าง อย่า ไปมองแต่ว่า สิ่งที่เราทำมีผลดีต่อคนส่วนใหญ่ ต้อง มองว่าสำหรับคนส่วนน้อยที่ได้รับผลกระทบ จะ ทำอย่างไรเราจึงจะลดผลกระทบให้เหลือน้อยที่สุด ทำด้วยความมีสติ ไตร่ตรองอย่างรอบคอบว่าเรื่องนี้ ใครเคยได้รับผลกระทบบ้าง ทำอย่างไรจะทำ ความเข้าใจกับเขาได้ ให้เขารู้สึกว่า เราจำเป็นต้อง ทำ ไม่ใช่ว่าจะไปแกล้งเขา แต่เพื่อหวังประโยชน์ ต่อส่วนรวม เขาเองก็เสียสละด้วย และก็ชื่นชม ยกย่องให้เกียรติเขาเท่าที่จะทำได้ ถ้าอย่างนี้เรา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More