การนั่งสมาธิในโรงเรียน: การเปลี่ยนแปลงเด็กนักเรียนด้วยสมาธิ วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน สิงหาคม พ.ศ.2552 หน้า 59
หน้าที่ 59 / 128

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เล่าถึงประสบการณ์ของคุณครูวิจิตรา คู่พงศกร หรือครูหลา ณ โรงเรียนโทแพงกา ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ใช้เทคนิคการนั่งสมาธิเพื่อเพิ่มสมาธิให้กับเด็กกลุ่มที่มีพัฒนาการแตกต่างกัน โดยเฉพาะเด็กที่มีปัญหาทางสมองและเด็กที่มีความเก่งเพื่อเป็นการสร้างสรรค์พฤติกรรมที่ดีขึ้นในห้องเรียน หลังจากที่จัดกิจกรรมนี้ เด็กๆ เริ่มมีสมาธิมากขึ้นและเกิดการเปลี่ยนแปลงที่น่ามหัศจรรย์

หัวข้อประเด็น

-การนั่งสมาธิ
-การสอนเด็กพิเศษ
-การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
-การศึกษาในต่างประเทศ
-ความสำคัญของสมาธิ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

66 ความรู้แจ้งอันแท้จริงย่อมเกิดจากสมาธิภาวนา ภาษาทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า ภาวนามยปัญญา นอกจากสมาธิจะเป็นเครื่องมือนำมาสู่ความรู้แจ้ง ตามหลักคำสอนของบรมครู คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว "สมาธิยังสามารถเป็นเครื่องมือการสอนอันแสนมหัศจรรย์ ที่พลันเปลี่ยนชีวิตของเด็กนักเรียนให้เก่งและดีได้อีกด้วย" ดังเรื่องราวของคุณครูวิจิตรา คู่พงศกร หรือครูหลา แห่งโรงเรียนโทแพงกา ประเทศสหรัฐอเมริกา ณ โรงเรียนโทแพงกา ประเทศสหรัฐอเมริกา โรงเรียนแห่งนี้ตั้งอยู่ท่ามกลางขุนเขาอันเงียบสงบ ซึ่งเพียบพร้อมไปด้วยธรรมชาติอันน่ารื่นรมย์ คุณครู ๆ มีลักษณะที่ วิจิตรา คู่พงศกร หรือครูหลา กำลังสอนเด็ก ๆ อย่าง สนุกสนาน ครูหลาเล่าว่า “นักเรียนในห้องเรียนที่ ครูสอนค่อนข้างพิเศษ เพราะเด็ก แตกต่างกันอย่างสุดขั้ว เด็กครึ่งหนึ่งเป็นเด็กที่มี ปัญหาด้านสมอง มีพัฒนาการช้า บางคนอ่าน หนังสือถอยหลัง รวมไปถึงเด็กไฮเปอร์ ส่วนอีกครึ่ง เป็นเด็กฉลาดมากเป็นพิเศษ กลุ่มนี้จะใจร้อน ถือว่า ตัวเองเก่ง เป็นพวกสมบูรณ์แบบ Perfectionist ทุกอย่างต้องเป็นไปตามที่ตัวเองคิด เด็ก ๒ กลุ่มที่ แตกต่างแต่ต้องมารวมกัน เราลองมาจินตนาการกันเถิดว่า หากเราเป็น ครูหลา ที่ต้องดูแลเด็กนักเรียนที่มีพัฒนาการที่ต่าง กันสุดขั้วอย่างนี้จะรู้สึกเหนื่อยล้าและวุ่นวายเพียงใด แค่คิดก็แทบจะถอดใจ แต่คุณครูหัวใจเพชรอย่าง ครูหลาแม้เหนื่อยเพียงใดแต่เธอก็ไม่ยอมถอดใจ “ก่อนหน้านี้พอเลิกจากงานที่โรงเรียนดิฉันต้อง ขับรถกลับบ้านทั้งน้ำตา คือ ทั้งท้อทั้งล้าสุดบรรยาย พยายามคิดทบทวนและหาวิธีการตลอดว่า ทำ อย่างไรเราจึงจะเอาชนะความวุ่นวายของเด็กได้ จึงฉุกคิดว่า ควรจะจัดกิจกรรมให้เด็กนั่งสมาธิ ถ้าให้ ๆ นั่งสมาธิ พฤติกรรมต่าง ๆ น่าจะดีขึ้น ดิฉันจึงเริ่มพาเด็ก ๆ ไปเดินเล่น ชมธรรมชาติ เด็ก ข้าง ๆ โรงเรียน แล้วชวนนั่งสมาธิ โดยให้นั่งนิ่ง แล้วฟังว่าได้ยินเสียงธรรมชาติอะไรบ้าง ได้ผลค่ะ ทุกคนเริ่มนิ่ง จากที่แต่ก่อนเป็นลิงเป็นค่าง ไม่สนใจ ที่จะฟังอะไรทั้งสิ้น เด็กก็เริ่มสงบขึ้น จากนั้นจึง เริ่มต้นให้เด็ก นำใจมาไว้ที่กลางท้องโดยนึกถึง ฟองสบู่กลม ๆ ใส ๆ มาตั้งไว้แล้วปล่อยใจสบาย ๆ ๆ เมื่อเด็ก ๆ สนุกกับสมาธิ ดิฉันจึงให้สะสมแต้ม นาทีละ ๑ คะแนน จนสิ้นเดือน โดยจะคอยเตือน เสมอว่า ใกล้หมดเดือนแล้ว ให้กลับไปนั่งที่บ้าน แล้ว มารวมคะแนนทั้งเดือน และให้เขาเขียนชื่อของตัวเอง ใส่ในขวดโหลใส ๆ เพื่อจับฉลากของขวัญและมอบ ของพิเศษให้เด็กที่ได้คะแนนสูงสุด” หลังจากที่ครูหลาได้ให้เด็ก ๆ นั่งสมาธิอย่าง สม่ำเสมอ แสงสว่างแห่งสมาธิก็เจิดจ้าขึ้นในใจของ เด็ก ๆ และเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ซึ่งแม้แต่ ครูหลาก็วิ่งและอัศจรรย์ในอานุภาพของการนั่งสมาธิ ๆ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More