การเปลี่ยนแปลงในเศรษฐกิจและการเมือง วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน สิงหาคม พ.ศ.2552 หน้า 97
หน้าที่ 97 / 128

สรุปเนื้อหา

การเปลี่ยนแปลงไม่เสมอไปว่าจะนำไปสู่สิ่งที่ดี จำเป็นต้องมีการพิสูจน์ความถูกต้อง ผ่านการทำ Pilot Project และสร้างเครดิตให้ตัวเอง นอกจากนี้ การทำตามขั้นตอนอย่างระมัดระวังสามารถช่วยในการเปลี่ยนแปลงได้ดีกว่า ตัวอย่างจากการเลิกทาสของไทยและสหรัฐฯ แสดงให้เห็นถึงผลกระทบที่ต่างกันเมื่อเปลี่ยนแปลงอย่างไม่เตรียมการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของแต่ละสังคม ทั้งในไทยและอเมริกาทำให้เกิดเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่ฉีกแนวกฎหมายศาสตร์และความเป็นเอกภาพ

หัวข้อประเด็น

-การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
-การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
-การสร้างเครดิต
-โครงการนำร่อง
-เหตุการณ์ประวัติศาสตร์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ต้องเปิดกว้างทั้งเศรษฐกิจและการเมืองไปพร้อมกัน ตอนเปลี่ยนใหม่ ๆ ใคร ๆ ก็ชม ปรากฏว่าสุดท้าย ลงเหวไปเลย เพราะฉะนั้น การเปลี่ยนแปลงไม่ใช่ว่าจะนำ ไปสู่สิ่งที่ดีขึ้นเสมอไป ถ้านำไปถูกทิศก็ดี แต่ถ้าผิด ทิศจะทำให้เกิดอันตรายได้ แล้วเราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าที่เราต้องการ เปลี่ยนแปลงนี้ จะดีจริง ๆ เรื่องนี้จะสัมพันธ์กับข้อที่ ๒ คือ ๒) ถ้าเรื่องไหนที่เรายังไม่มั่นใจ ๑๐๐ % ก็ ควรทํา Pilot Project คือ โครงการนำร่อง ทดลอง ในกลุ่มที่ไม่ใหญ่เกินไปก่อน แล้วดูผลที่เกิดขึ้นว่า เป็นอย่างไร ดีจริงไหม ถ้ามีรายละเอียดบางอย่าง ต้องปรับแก้ ก็ปรับแก้ให้เรียบร้อย แล้วค่อยขยายผล งขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ก็จะมาโยงถึงประเด็น ไปสู่ระดับที่กว้างขึ้น ต่อไป คือ กระบวนการในการนำการเปลี่ยนแปลงมา สู่องค์กรที่เรารับผิดชอบ ต้องทำอย่างไร ประเด็นนี้ ฝากไว้ ๓ ข้อ คือ ๑. เราในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ต้อง สร้างเครดิตให้ตัวเองเสียก่อน ถ้าเครดิตดีจะเปลี่ยน อะไรก็ง่าย เพราะผู้ที่อยู่ในบังคับบัญชายอมรับเรา พูดคำเดียวเขาก็ทำตาม แรงต้านก็ไม่มี แต่ถ้าเครดิต ไม่พอ เรื่องง่ายก็กลายเป็นเรื่องยาก เรื่องยากก็ยิ่ง ยาก เพราะว่าแต่ละเรื่องก็จะมีทั้งคนเห็นด้วยและ ไม่เห็นด้วย ทำให้เกิดความวุ่นวาย ถ้าเครดิตเราดี มากขึ้นเท่าไร แรงต้านก็จะยิ่งน้อยลง แล้วการ เปลี่ยนแปลงก็จะราบรื่น ถามว่าเครดิตจะเกิดขึ้นได้อย่างไร คำตอบ มีอยู่ ๒ อย่างคือ ๑.๑ เราต้องสั่งสมบารมี คือ ทำผลงานที่ดี ออกมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งผู้คนที่เกี่ยวข้องเกิด ความเชื่อมั่นในตัวเราว่าวิสัยทัศน์ของเราใช้ได้จริงๆ เวลาจะทําอะไรก็สำเร็จหมด ๑.๒ เราจะต้องทำแบบไม่มีนอก ไม่มีใน ไม่มี ทันโลก ทันธรรม ผลประโยชน์ทับซ้อน ไม่มีผลประโยชน์ตัวเองเข้าไป แอบแฝง อย่างนี้คนก็จะไม่ระแวง ถ้าเครดิตและ ผลงานเสริมกันอย่างนี้แล้วละก็ น้ำหนักในการชี้นำ ของตัวเองจะเพิ่มขึ้นมาอย่างมหาศาล ๒. กระบวนการในการนำการเปลี่ยนแปลง ให้ ทำอย่างเป็นขั้นเป็นตอน อย่าบุ่มบ่าม ให้ชั่งน้ำหนัก เสมอว่า เครดิตของเราในใจของผู้รับผลกระทบ ทั้งหมดมีขนาดไหน แล้วก็ทำการเปลี่ยนแปลงไปเท่า ที่น้ำหนักเรามี แต่ถ้าเราเดินเร็วเกินไปจนกระทั่ง เครดิตที่เรามีอยู่ไม่พอจะรองรับผลกระทบจะเกิดขึ้น อย่างมหาศาล อย่างกรณีการเลิกทาสของไทยกับสหรัฐอเมริกา ในประเทศไทย รัชกาลที่ ๕ ทรงดำเนินงานอย่างเป็น ขั้นเป็นตอน พอที่คนอื่นจะรับได้ ทรงประกาศก่อน ว่าจะไม่แตะต้องทาสเก่าที่มีอยู่แล้ว แต่ทาสในเรือน เบี้ย คือลูกทาสที่เกิดมานับตั้งแต่พระองค์เสด็จขึ้น ครองราชย์แล้ว ขอให้เป็นไทแก่ตัวทุกคน คนที่มีทาส ทั้งหลายก็พอรับได้ แล้วพระองค์ก็ทรงค่อย ๆ ทำ ทีละขั้น ใช้เวลา ๓๐ กว่าปี จึงประกาศเลิกทาสทั้ง แผ่นดิน ซึ่งตอนนั้นกระทบผลประโยชน์ของแต่ละคน ไม่มาก เพราะผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงเป็นขั้น เป็นตอนมาแล้ว จึงไม่มีการเสียเลือดเนื้อ ไม่เกิดความ ปั่นป่วนทางการเมือง แต่ที่อเมริกา พอประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น ประกาศเลิกทาส ผลคือ รัฐทางฝ่ายใต้ ซึ่งเป็นสังคมเกษตรกรรมต้องมีทาสมาก ๆ ไม่อยาก เลิกทาส เพราะจะเสียผลประโยชน์มาก ไม่เหมือน รัฐทางฝ่ายเหนือที่เป็นสังคมอุตสาหกรรม ต้องการ ให้แต่ละคนมีอิสระ ซึ่งจะทำให้หาแรงงานมาป้อน โรงงานอุตสาหกรรมได้ง่าย พอลินคอล์นประกาศ เลิกทาส เปรี้ยง! ฝ่ายใต้ประกาศแยกตัวทันที เกิด สงครามกลางเมืองอเมริกา คนตายมหาศาล ความ เสียหายเกิดขึ้นมากมาย เป็นบาดแผลใหญ่ของคน อเมริกาจนถึงปัจจุบันนี้ อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ ประเทศจีน เดิมเป็น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More