การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจจีนภายใต้การนำของเติ้งเสี่ยวผิง วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน สิงหาคม พ.ศ.2552 หน้า 98
หน้าที่ 98 / 128

สรุปเนื้อหา

บทความนี้วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจจีนภายใต้การนำของเติ้งเสี่ยวผิง ซึ่งเริ่มต้นจากการทดลองนโยบายเศรษฐกิจการตลาดในหมู่บ้านเล็ก ๆ จนกระทั่งขยายไปทั่วทั้งประเทศในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา การเติบโตของเศรษฐกิจจีนเฉลี่ยปีละเกือบ 10% เป็นเรื่องมหัศจรรย์ที่มีผลสะท้อนจริงในชีวิตของประชาชน ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสียจากการเปลี่ยนแปลงนี้ นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงแนวคิดในการทดลองและการเรียนรู้จากความผิดพลาด เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในระบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรม โดยเฉพาะในการมองเห็นปัญหาที่เกิดจากระบอบคอมมิวนิสต์และการพัฒนาอย่างมีระเบียบ เพื่อไม่ให้เกิดความเดือดร้อนในระดับประชาชน

หัวข้อประเด็น

-การนำเศรษฐกิจการตลาด
-ทะลายระบบคอมมิวนิสต์
-การทดลองในการเปลี่ยนแปลง
-การพัฒนาเศรษฐกิจจีน
-ผลกระทบต่อสังคมและประชาชน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

คอมมิวนิสต์ เหมาเจ๋อตุงนำระบอบคอมมิวนิสต์ เข้ามาใช้ประมาณ ๓๐ ปี พอเหมาเจ๋อตุงเสียชีวิต ไปแล้ว เติ้งเสี่ยวผิงขึ้นมามีอำนาจ ก็ประกาศนโยบาย ว่าต้องการนำเศรษฐกิจการตลาดเข้ามา แต่พวก คอมมิวนิสต์เขาคิดว่าเศรษฐกิจการตลาดเป็นของ ทุนนิยม เป็นฝ่ายตรงข้ามกัน พอเติ้งเสี่ยวผิงจะเอา นโยบายนี้เข้ามาใช้ แรงต้านในพรรคคอมมิวนิสต์ จึงมีมหาศาล เติ้งเสี่ยวผิงใช้วิธีการเดินงานเป็นขั้นเป็นตอน ขอจุดเล็ก ๆ อย่างเสิ่นเจิ้น ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวประมง แต่ทำเลดีเพราะอยู่ฝั่งตรงข้ามฮ่องกง ขอใช้ระบบ การตลาด แล้วก็ให้สิทธิพิเศษกับคนที่มาลงทุน ยกเว้นภาษีให้ อำนวยความสะดวกให้หลายอย่าง คนอื่น ๆ ในพรรครู้สึกว่าเป็นของเล่นของผู้มีอำนาจ พื้นที่เล็ก ๆ ไม่กี่ตารางกิโลเมตร ประชากรแค่ ๓๐,๐๐๐ คน เทียบกับทั้งประเทศหลายพันล้านคน ถือว่าน้อยมาก เมื่อผู้นำขอก็อนุมัติ จากจุดเล็ก ๆ พอทำไป ๓ ปี ๕ ปี เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาก คราวนี้ เติ้งเสี่ยวผิงจะพูดอะไรน้ำหนักก็ดีขึ้น เพราะไม่ใช่ แนวคิดแล้ว แต่กลายเป็นสิ่งที่ทำได้จริง และมีผล ประจักษ์ให้เห็น ๆ จากจุดเดียวก็เริ่มขยายเป็นหลาย ๆ จุด สุดท้ายขยายทั้งประเทศ เสียงต้านก็พอมีอยู่บ้าง แต่น้ำหนักอ่อนลงไปเรื่อย ๆ เพราะเห็นผลกับตาว่า ตรงไหนใช้เศรษฐกิจพิเศษ ใช้ระบบการตลาดเข้ามา เจริญหมด ผลก็คือ เศรษฐกิจของประเทศจีนเติบโต ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันนี้ ๓๐ ปีแล้ว ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๑ มาถึงปัจจุบัน 4 ๓๐ ปีมานี้ เศรษฐกิจจีนเติบโตต่อเนื่อง เฉลี่ยปีละเกือบ ๑๐% ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องมหัศจรรย์มาก แต่ต้องรอดูต่อไปว่าจากนี้จะเป็นอย่างไร เพราะทุก ๆ อย่าง เป็นเรื่องของการลองผิดลองถูก ทิศทางใหญ่ถูกแล้ว แต่ถ้าทิศทางย่อยเดินผิด ก็ล้ม อีกเหมือนกัน แต่ละอย่างต้องเดินด้วยความสุขุม รอบคอบ ระมัดระวังตลอดเวลา จะนำคนเป็นพัน ๆ ล้านคนไม่ใช่ของง่าย วิสัยทัศน์ที่ถูกต้องของคน เพียงคนเดียว ถ้าทำดี ๆ ให้ถูกวิธีการ ก็ส่งผลกระทบ ต่อวิถีชีวิตของคนเป็นพัน ๆ ล้านคนทีเดียว แต่ใน ขณะเดียวกัน ถ้านำไปผิด ก็จะทำให้คนเป็นพันล้าน คนเดือดร้อนไปหมดได้ เช่น ระบอบคอมมิวนิสต์ เริ่มต้นทำเหมือนดี คือ ให้ทุกคนเสมอภาคเท่าเทียม กัน ผลิตอะไรได้มาก็แบ่งปันเท่าเทียมกัน เหมือน สังคมในฝัน แต่ลืมมองความจริงว่า คนแต่ละคน ขยันไม่เท่ากัน ความพากเพียรพยายามไม่เท่ากัน ความประหยัดไม่เหมือนกัน นิสัยไม่เหมือนกัน สติปัญญาไม่เท่ากัน พอทุกคนได้เท่ากันหมด คนก็ เลยไม่ทุ่มเท ไม่รู้จะทุ่มไปทำไม ทุ่มเท่าไรก็ได้เท่ากัน ผลคือประสิทธิภาพการผลิตลดฮวบฮาบ แล้วระบอบ คอมมิวนิสต์เองก็ไปไม่รอด เพราะขัดแย้งกับพื้นฐาน ความเป็นจริงของมนุษย์หลาย ๆ อย่าง ส่งผลกระทบ กับคนเป็นร้อยเป็นพันล้านคนมาเกือบ ๑๐๐ ปี เพราะว่านำไปผิด ๆ ๓. แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าที่เราทำนั้นถูกหรือ ผิด คำตอบคือ ถ้าไม่มั่นใจ ๑๐๐ % ให้ทดลอง ทำดูก่อน การทดลองจะเป็นตัวบอกเราได้ ลองผิด ลองถูกไปแล้ว ได้ข้อมูลแล้ว ในขณะเดียวกันก็ได้ เครดิตมาด้วย ค่อย ๆ ขยายผลเป็นขั้นเป็นตอนไป ตัวเราเองที่นำการเปลี่ยนแปลงก็ได้ข้อมูลที่ชัดเจน มากขึ้น อะไรที่ไม่ถูกเราก็แก้ แล้วทุกคนที่ได้รับ ผลกระทบก็ได้รับผลกระทบอย่างค่อยเป็นค่อยไป มีโอกาสในการปรับตัว วิธีการนี้ในปัจจุบันก็มีคนนำมาใช้กันมาก แม้แต่บริษัทที่จะผลิตสินค้าตัวใหม่ออกมาขายก็ต้อง มีการทดลองตลาด คือ เอาสินค้าไปวางในเขตพื้นที่ จำกัด แล้วดูว่ากระแสตอบรับเป็นอย่างไรบ้าง มี ข้อเสียอะไรที่ต้องปรับปรุง พอปรับปรุงสิ่งเหล่านี้ เสร็จ คราวนี้ก็ขยายตลาดทั้งประเทศ ในการเปลี่ยนแปลงนั้นจะมีผู้ได้รับผลกระทบ มีคนเสียประโยชน์ มีคนได้ประโยชน์ เราต้องดู ตรงนี้ให้ดีว่าเราทำทุกอย่างด้วยความเที่ยงธรรมและ เป็นธรรม ไม่ลำเอียงเข้าข้างใคร และให้เขาได้รับ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More