การปลูกฝังอบรมสัมมาทิฐิตามแนวทางพระสัมมาสัมพุทธเจ้า วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน สิงหาคม พ.ศ.2552 หน้า 67
หน้าที่ 67 / 128

สรุปเนื้อหา

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้กำหนดทิศ 5 เพื่อช่วยในการปลูกฝังอบรมสัมมาทิฐิให้เข้าถึงใจของผู้คน โดยมีวิธีการที่เหมาะสมตามช่วงวัยตั้งแต่ทารก จนถึงผู้ใหญ่ การปลูกฝังเช่นนี้ประกอบด้วย 4 วิธี ได้แก่ การสร้างลักษณะนิสัยตั้งแต่เด็ก การผสมผสานการปฏิบัติกิจวัตรในชีวิตประจำวัน การเชื่อมต่อระหว่างทฤษฎีกับการปฏิบัติจริงในโรงเรียน และการส่งผ่านความดีระหว่างคน การใช้กรอบการทำงานตามที่พระพุทธองค์กำหนดจะช่วยสร้างสังคมที่มีสัมมาทิฐิและส่งเสริมคุณธรรมในชีวิตจริงผ่านกิจกรรมและวัฒนธรรมชาวพุทธ

หัวข้อประเด็น

-การปลูกฝังสัมมาทิฐิ
-พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
-การพัฒนาผู้เรียน
-คุณธรรมและจริยธรรม
-การศึกษาในศาสนาพุทธ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกำหนดให้ทิศ 5 ของแต่ละคนทำหน้าที่รับผิดชอบในการ ปลูกฝังอบรมสัมมาทิฐิ ให้เข้าไปอยู่ใน ใจของคนเรา โดยทรงกำหนดเป็นอริยวินัย ให้ปฏิบัติตามหน้าที่ที่พระพุทธองค์ทรง กำหนดไว้ในแต่ละทิศอย่างเคร่งครัด บ้าน โรงเรียน เพื่อน HATSE องค์กร แบบแผนหรือกระบวนการปลูกฝัง อบรมสัมมาทิฐิควรทำอย่างไร แบบแผนหรือกระบวนการปลูกฝังอบรม สัมมาทิฐิ ควรที่จะดำเนินการให้สอดคล้องกับวัย สติปัญญา ความสามารถ ความสนใจ และความ สะดวกของผู้เข้ารับการอบรม จึงควรแบ่งออกเป็น ๔ ลักษณะ คือ Q). การปลูกฝังให้เกิดเป็นลักษณะนิสัย การ ปลูกฝังวิธีนี้เหมาะกับเด็กทารกทั่วไป ขณะที่ยังไม่เข้า โรงเรียน สิ่งที่นำมาปลูกฝัง คือ ศีลและคุณธรรม ความดีต่าง ๆ เพื่อสร้างลักษณะนิสัยรักบุญกลัวบาป รักความดี เกลียดความชั่ว ตลอดจนวัฒนธรรม ชาวพุทธเท่าที่เด็กจะสามารถทำได้ ๒. การปลูกฝังลักษณะนิสัยควบคู่ไปกับการ ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันการปลูกฝังวิธีนี้เหมาะกับเด็ก ระดับอนุบาลและประถมต้น เนื้อหาสาระของธรรมะ ที่นำมาปลูกฝังฝึกฝนอบรม ควรเป็นเนื้อหาธรรมะ จากสัมมาทิฐิ ๑๐ ส่วนเด็กระดับประถมปลายก็ยัง คงเน้นการปลูกฝังลักษณะนิสัยควบคู่กับการปฏิบัติ แต่เนื้อหาสาระของธรรมะที่นำมาปลูกฝังมีมากขึ้น การปลูกฝังธรรมะภาคปฏิบัติควบคู่กับ ภาคทฤษฎีการปลูกฝังวิธีนี้เหมาะกับเยาวชนในระดับ ๓. มัธยมศึกษาและอุดมศึกษา การปลูกฝังธรรมะภาค ปฏิบัติ มีความหมาย ๒ ประการ คือ การนำธรรมะภาคทฤษฎีที่เรียนในชั้นเรียน มาปฏิบัติจริงในขณะที่อยู่ในโรงเรียนหรือสถาบัน การศึกษาแต่ละวัน ๆ ประการหนึ่ง กับการเจริญ สมาธิภาวนาอีกประการหนึ่ง อนึ่ง การปลูกฝังธรรมะภาคปฏิบัติระดับนี้ ยังมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่การปลูกฝังลักษณะนิสัย กิจกรรมต่าง ๆ ควรมีลักษณะสืบเนื่องสอดคล้อง กับการปลูกฝังในข้อ ๒ ที่ผ่านมา ต ๔. การถ่ายทอดความดีซึ่งกันและกัน การ ปลูกฝังวิธีนี้เหมาะกับผู้ใหญ่โดยทั่วไป ซึ่งเข้าสู่อาชีพ การงานแล้ว กระบวนการปฏิรูปมนุษย์ที่กล่าวมา ตั้งแต่ต้นก็จัดอยู่ในการปลูกฝังวิธีนี้ด้วย ผู้ให้การปลูกฝังอบรมสัมมาทิฐิ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกำหนดให้ทิศ 5 ของแต่ละคนทำหน้าที่รับผิดชอบในการปลูกฝัง อบรมสัมมาทิฐิให้เข้าไปอยู่ในใจของคนเรา โดย ทรงกำหนดเป็นอริยวินัยให้ปฏิบัติตามหน้าที่ ที่พระพุทธองค์ทรงกำหนดไว้ในแต่ละทิศอย่าง เคร่งครัด
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More