ความสำคัญของวันวิสาขบูชา วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน มิถุนายน พ.ศ.2549 หน้า 17
หน้าที่ 17 / 88

สรุปเนื้อหา

วันวิสาขบูชาเป็นวันที่สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จประสูติ ตรัสรู้ และดับขันธปรินิพพานในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้เราควรทำบุญและรักษาศีลเพื่อน้อมระลึกถึงพระองค์ ด้วยการทำความดี ไม่ประมาท และปฏิบัติตามหลักธรรมที่พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้ในวันนี้คือ อริยสัจ ๔ โดยเฉพาะการทำใจให้หยุดนิ่งซึ่งจะช่วยให้เราเข้าใกล้ความจริงที่พระพุทธองค์ค้นพบและบรรลุถึงการหลุดพ้น

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของวันวิสาขบูชา
-การปฏิบัติธรรมในวันวิสาขบูชา
-อริยสัจ ๔ และความหมาย
-การระลึกถึงพระพุทธเจ้า
-พุทธประเพณีและการรักษาศีล

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธปรินิพพาน ในราตรีนั้น พระองค์ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายย่อมมี ความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจง ยังกิจทั้งปวง อันเป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนและผู้อื่น ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด” หลังจาก นั้นก็ทรงเข้าโลกุตตรฌานสมาบัติ และเสด็จ ดับขันธปรินิพพาน ในคืนวันเพ็ญเดือน ๖ นั้น อีกเช่นเดียวกัน จากพุทธประวัติพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงประสูติ ตรัสรู้ และดับขันธปรินิพพานใน วันเดียวกัน คือวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน 5 แม้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ที่ผ่านมา ก็ ทรงมีพุทธประเพณีเช่นเดียวกันนี้เหมือนกัน ดังนั้นเราจึงควรยึดเอาวันนี้ ให้เป็นวันวิสาขบูชา ตรงกันไปทั่วโลก เพื่อรักษาพุทธประเพณีอันดี งามนี้เอาไว้ และเพื่อความเป็นหนึ่งเดียวกันของ พุทธบริษัททั่วโลก เมื่อวันนี้เวียนมาถึง เราควรจะทำอย่างไร ในฐานะที่เราเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี เราก็ต้อง สร้างมหากุศลถวายเป็นพุทธบูชา เพื่อเป็นการ น้อมรำลึกถึงพระคุณอันประเสริฐ และไม่มี ประมาณของพระพุทธองค์ ด้วยการบำเพ็ญ บุญกิริยา มีการตักบาตร ฟังธรรม รักษาศีล สวดมนต์ เจริญสมาธิภาวนา จุดประทีปบูชา และเวียนประทักษิณ เป็นต้น ซึ่งในวันนี้เรา ก็จะพร้อมใจกันจุดวิสาขประทีป รอบมหา รัตนวิหารคดเป็นครั้งแรกของโลก เพื่อถวาย เป็นพุทธบูชา และที่สำคัญ วันนี้เป็นวันของ พระพุทธเจ้า วันแห่งความบริสุทธิ์ เราควรจะ เลิกทำในสิ่งที่ไม่ดี รวมทั้งเลิกอบายมุขทุกชนิด ถวายเป็นพุทธบูชา เพื่อความเป็นสิริมงคลใน ชีวิตของเรา และจะต้องปฏิบัติตามหลักธรรม ที่พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้ในวันนี้ คือ อริยสัจ ๔ ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ได้แก่ ทุกข์ คือ เราต้องมองให้เห็นไปตามความเป็นจริงว่า พื้นฐานของชีวิตคือความทุกข์ ซึ่งมีสาเหตุมา จากความทะยานอยาก ที่เรียกว่า สมุทัย จะดับ ความทะยานอยากได้ต้องทำใจให้หยุด ที่เรียกว่า นิโรธ เมื่อใจหยุดมรรคก็เกิด ตั้งแต่ปฐมมรรค เรื่อยไปจนกระทั่งได้บรรลุถึงกายธรรมอรหัต “ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค” คือ อริยสัจ ความจริงของพระอริยเจ้าที่ทรงค้นพบในวันเพ็ญ วิสาขบูชา ซึ่งการจะบรรลุอริยสัจได้ก็ต้องไม่ ประมาท ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงทรง พุทโธวาทเป็นครั้งสุดท้ายว่า ให้เราทั้งหลายเป็น ผู้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท การประกอบ ความเพียร ทำใจหยุดใจนิ่ง ด้วยความไม่ ประมาท ถือว่าได้ทำตามพุทโธวาทอย่างแท้จริง พระพุทธองค์ทรงให้นัยยะว่าให้ทำนิโรธ คือ ทำใจให้หยุดให้นิ่งที่ศูนย์กลางกายฐานที่ เพราะที่ตรงนี้เป็นที่บังเกิดขึ้นของปฐมมรรค และเป็นทางเสด็จไปของพระพุทธเจ้าและ ๗ พระอรหันต์ทั้งหลาย รวมทั้งเป็นที่ประสูติ ตรัสรู้ และดับขันธปรินิพพาน คือ เป็นที่บังเกิดขึ้นด้วย รูปกายเนื้อของพระพุทธองค์ และเป็นที่ตรัสรู้ กายธรรมอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า และก็ เป็นที่ถอดกายเสด็จดับขันธปรินิพพานเข้าสู่ อายตนนิพพาน ซึ่งเป็นการประสูติ ตรัสรู้ ดับขันธปรินิพพานภายใน ที่เราควรศึกษาเอาไว้ และก็ต้องปฏิบัติให้ได้ตามพุทโธวาท ให้สม กับที่เราเป็นชาวพุทธ ได้เกิดในร่มเงาบวร พระพุทธศาสนา และให้สมกับที่วันนี้เป็นวัน สำคัญสากลของโลก และเป็นวันสำคัญสูงสุด ในพระพุทธศาสนา อยู่ใน de ๑๕
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More