การสร้างบารมีในสังสารวัฏ วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน มิถุนายน พ.ศ.2549 หน้า 35
หน้าที่ 35 / 88

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการไม่ประมาทในชีวิตและการสร้างบารมีในสังสารวัฏ โดยเสนอหลักการ 3 ข้อในการดำเนินชีวิต เพื่อให้ทะลุปรุโปร่งและมองชีวิตได้อย่างเข้าใจ พร้อมเน้นการสร้างธรรมะเป็นหลักยึด การไม่อิจฉาริษยา และการทุ่มเทในทำความดี เพื่อให้ปลอดภัยจากความผิดพลาดและการตกอยู่ในสังสารวัฏ.

หัวข้อประเด็น

- ความสำคัญของการสร้างบารมี
- การไม่ประมาทในชีวิต
- หลักการสร้างบารมี
- ธรรมะเป็นหลักยึด
- การไม่อิจฉาใคร

ข้อความต้นฉบับในหน้า

คําถามที่ถามว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นนับพระองค์ไม่ถ้วนแล้ว ทําไมเรายังงุ่มง่ามติดอยู่ในวัฏสงสารนี้ เพราะเราเกิดมาเจอปฏิรูปเทส ๔ ก็ไม่รู้จักว่าเป็นปฏิรูปเทส ๔ เกิดมาเจอบุคคลที่เป็นสัมมาทิฏฐิก็ทำเฉยเมย ชีวิตเราขาดธรรมะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวในการ ทำความดีเสียแล้ว เมื่อเป็นอย่างนี้ เดี๋ยวก็ต้องจับ แง่คิดผิด ไปอิจฉาริษยาชาวบ้าน ไปขัดขวางการ ทำความดีของคนดี ในที่สุดก็พลัดไปเกิดในถิ่นที่ ไม่ใช่ปฏิรูปเทส และไม่ได้พบบุคคลผู้มีธรรมะ ฝังแน่นในการทำความดี เป็นเหตุให้ประมาทใน การดำเนินชีวิตได้โดยง่าย ก่อกรรมทำชั่วได้โดยง่าย ต้องตกนรกหมกไหม้ ประสบความทุกข์สารพัดไม่ สิ้นสุด ต้องติดอยู่ในสังสารวัฏนี้ต่อไป เพราะฉะนั้น เมื่อเราทราบอย่างนี้แล้ว ก็ อย่าได้ประมาทในชีวิต ชาตินี้ไม่ว่าจะได้เกิดหรือ ไม่ได้เกิดในปฏิรูปเทส ๔ ก็ตาม ขอให้ตั้งใจสร้าง ความดีกันต่อไปอย่างชนิดเอาชีวิตเป็นเดิมพัน อย่าอิจฉาริษยาใคร หากมีเรื่องกระทบกระทั่งกัน บ้างก็ให้อดทน ให้คิดว่าเราคงเคยทำกับคนอื่นมา อย่างนี้ จึงต้องมารับผลที่เคยทำไว้ เมื่อเราคิดได้ อย่างนี้ก็จะปลงตก แล้วก็ตั้งใจสร้างบารมี เอา บุคคลผู้มีใจฝังแน่นด้วยธรรมะเป็นหลักยึดในการ สร้างบุญบารมีตามท่านไป ความประมาทในชีวิต ที่จะทำผิดพลาดต่างๆ นานา ย่อมเกิดขึ้นได้ยาก เพราะสิ่งแวดล้อมที่ดีตีกรอบไว้ให้หมดแล้ว นั่นก็ เท่ากับว่า เราจะได้เกิดในปฏิรูปเทส ๔ และอยู่บน เส้นทางการสร้างบารมีไปได้ตลอดรอดฝั่งอย่าง แน่นอน คนที่มองชีวิตในสังสารวัฏได้ทะลุปรุโปร่ง เข้าใจอย่างนี้ แล้วตั้งใจสร้างบารมีให้เต็มที่บน หลักการ ๓ ข้อนี้ คือ ๑) ต้องมีธรรมะเป็นหลักยึด ประจำใจ ๒) ต้องอิจฉาใครไม่เป็น ๓) ต้องทุ่ม ชีวิตสร้างบารมี นี่คือคนที่ไม่ประมาทในเส้น ทางการสร้างบารมีอย่างแท้จริง ohr um ကက
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More