ข้อความต้นฉบับในหน้า
แล้วเขียนประกาศแจ้งกำหนดวัน เวลา และเดือน
ที่จะนำมาทอดติดไว้ที่กุฏิเจ้าอาวาส หรือที่ศาลา
การเปรียญ เป็นต้น โดยประกาศไว้แต่เนิ่นๆ
ส่วนมากเริ่มเข้าพรรษาแล้ว การจองกฐินก็เพื่อ
ประโยชน์ให้พระสงฆ์และทายกทายิกาของวัดนั้น
ได้ทราบล่วงหน้า คนอื่นจะได้ไม่มาจอง ตาม
ธรรมเนียมมีอยู่ว่า วัดหนึ่งพระจะรับกฐินได้เพียง
หนเดียว และรับเฉพาะของท่านที่จองไว้ก่อนเท่านั้น
และการจองกฐินนี้จองได้เฉพาะวัดราษฎร์เท่านั้น
สำหรับวัดหลวงนั้นไม่มีการจองกฐินเพราะเป็น
ของหลวง ใครจะขอพระราชทานมาทอดต้องขอ
พระบรมราชานุญาตก่อน
ความพิเศษของกฐิน
การทอดกฐินนี้ จัดเป็นการทำบุญที่แปลก
กว่าการทำบุญประเภทอื่นหลายอย่าง จึงถือกันว่า
เป็นบุญพิเศษ มีอานิสงส์มาก เพราะทำได้ยาก
ความพิเศษของกฐิน คือ
๑. จํากัดกาลเวลา คือ ต้องถวายภายในเวลา
๑๑
ถึงกลางเดือน
จำกัด ตั้งแต่วันแรม ๑
ค่ำ เดือน
๑๒ รวมเวลา ๒๙ วันเท่านั้น จึงเรียกอีกอย่างหนึ่ง
ว่า กาลทาน
๒. จํากัดชนิดทาน คือ ต้องถวายเป็นสังฆทาน
เท่านั้น ผู้ถวายจะเจาะจงถวายแก่รูปนั้นรูปนี้แบบ
ปาฏิบุคลิกทานเหมือนการถวายของอย่างอื่นไม่ได้
๓. จำกัดคราว คือ แต่ละวัดจะรับกฐิน
ได้เพียงปีละ ๑ ครั้งเท่านั้น
P.
จำกัดผู้รับ คือ พระผู้จะลงรับกฐินได้จะ
ต้องจำพรรษาอยู่ที่วัดนั้นครบไตรมาสไม่ขาดพรรษา
และต้องมีจำนวนตั้งแต่ ๕ รูปขึ้นไป ทั้งต้องลงรับ
พร้อมกันทั้งหมดด้วย
๕. จำกัดงาน คือ พระผู้รับกฐิน เมื่อรับผ้ากฐิน
มาจากเจ้าภาพแล้ว จะต้องทำการกรานกฐินให้แล้ว
เสร็จภายในวันนั้น จะเลื่อนไปเป็นวันรุ่งขึ้นหรือวัน
อื่นๆ ไม่ได้
5. จำกัดของถวาย คือ ของถวายต้องเป็นผ้า
ผืนใดผืนหนึ่งในจำนวนไตรจีวรเท่านั้น นอกนั้นจัด