เทคนิคการทำสมาธิให้จิตใจสงบ วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2550 หน้า 86
หน้าที่ 86 / 88

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอเทคนิคต่างๆ เพื่อช่วยนักปฏิบัติธรรมให้หยุดจิตใจได้เร็วขึ้น โดยสำรวจอุปนิสัยต่างๆ ที่อาจเป็นอุปสรรคในการเข้าถึงธรรม โดยการพักใจให้เป็นกลาง มองโลกตามความจริง และไม่ติดยึดกับสิ่งต่างๆ เพื่อให้การทำสมาธิก้าวหน้า รวมถึงการทำใจให้เบิกบานและมองผู้คนเหมือนเพื่อนร่วมทุกข์ เพื่อความสงบสุขในจิตใจ ซึ่งจะช่วยให้เข้าสู่สภาวธรรมภายในได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น

หัวข้อประเด็น

-เทคนิคการทำสมาธิ
-การทำใจให้สงบ
-การมองโลกตามความจริง
-การสร้างนิสัยที่ดีต่อการทำสมาธิ
-การเข้าใจธรรมะในชีวิตประจำวัน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ouh um ที่ปรึกษา พระมหาสมบุญ สมมาปุญฺโญ พระมหา ดร.สมชาย ฐานวุฑโฒ พระวิษณุ ปญฺญาทีโป พระอารักษ์ ญาณารกโข พระสมุห์อำนวยศักดิ์ มุนิสกฺโก บรรณาธิการบริหาร พระสมบัติ รกฺขิตจิตโต กองบรรณาธิการ พระดร.สมศักดิ์ จนฺทสีโล, พระวิชิต ผาสุกวาโส, พระตรีเทพ ชินจุกุโร, พระสนิทวงศ์ วุฑฒิวํโส, พระกล้าณรงค์ ญาณวีโร, พระธีระ นาถธมฺโม, พระมหาจตุรงค์ จตฺตมโล, พระมหาเอก จนฺทูปโม พระธนรินทร์ สิริธโร, พระวีรพงษ์ สง วิโส, พระทรงวุฒิ ชยวุฑโฒ, ผศ.สุชีพ พะหูชนม์, ผศ.สุภาศิริ พะหูชนม์, วรวรรณ ถนอมพงษ์, วันชัย ภัทรโกมล, วินิช พันธุ์วิริยรัตน์, สุธิดา จินดากิจนุกูล, รัดเกล้า ลิ่วเฉลิมวงศ์, น้ำผึ้ง พุ่มมาลี, ระพีพรรณ ใจภักดี, บริบูรณ์ โนรีเวช, วริศรา เพชรวิภูษิต, กนกพร เทศนา, สุลัดดา เมธีวรางกูร, รชา รัฐฐานนท์ บรรณาธิการสารสนเทศ รักชนก ชนะพล, ภัทรพร ศิลปาจารย์, รุ่งนภา วรรณุปถัมภ์, อภิรดี ตันติวาณิชยสุข ฝ่ายภาพ ศูนย์ภาพนิ่ง ฝ่ายศิลปกรรม อพงศ์ ลีลพนัง, กองพุทธศิลป์ วัลลภ นิลถนอม, ชัยชนะ กิตติโสภาพันธุ์, ภัทรา ศรีวสุธา, ปัณณภัสร์ ไต้ธงชัย, ศุภวิชฐ์ เหล่าเลิศพงษ์, ชนกมณฐ์ รักษาเกียรติ สุพัตรา ปัญญาแสง, พีระ แสงงาม ฝ่ายโฆษณา ปราณี ชัยผดุง ๐๘-๖๗๗๑-๒๒๖๘ ฝ่ายสมาชิก อรุณี พลกลาง ๐๘-๑๓๐๖-๕๓๙๓ ผ่องศรี ทานาแซง ๐๘-๖๙๘๐-๐๙๗๒ โรงพิมพ์ บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จำกัด วารสาร “อยู่ในบุญ” เป็นวารสารเพื่อการเผยแผ่ธรรมะ ในพระพุทธศาสนาเป็นรายเดือน มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ ๑.เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจใน ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเกิดกำลังใจในการปฏิบัติธรรม เพื่อเข้า ถึงธรรมะภายใน ๒.เพื่อปลูกฝังคุณธรรมแก่ประชาชนทุก เพศ ทุกวัย ทุกอาชีพและทุกระดับการศึกษา ๓.เพื่อถ่ายทอดความรู้ในพระพุทธ ศาสนา ให้ง่ายแก่การนำาไปใช้ให้เป็น ประโยชน์ในชีวิตประจําวัน ๔.เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้คนใน สังคมเป็นคนดีที่โลกต้องการ ๕.เพื่อเป็นสื่อกลางในการสืบทอดอายุ พระพุทธศาสนาให้เป็นที่พึ่งแก่ชาวโลกสืบไป เทคนิคการทําให้ใจรวม และหยุดนิ่งได้เร็ว อุปสรรคในการเข้าถึงธรรมอย่างหนึ่งของนักปฏิบัติธรรมก็คือ เมื่อนั่งสมาธิแล้วใจจะรวม หรือหยุดนิ่งได้ช้า แม้หยุดแล้ว ก็นิ่งได้ไม่สนิท กว่าใจจะรวม ก็เสียเวลาไปกับความฟุ้งซ่าน มีเรื่องราวต่างๆ วนเวียน อยู่ให้ขบคิดอย่างมากมาย หากเป็นเช่นนี้ สมาธิเราก็จะก้าวหน้าได้ช้า ดังนั้นให้เราลองมาสำรวจอุปนิสัยภายนอกของตัวเราแล้วพยายามปรับดู เพื่อให้สมาธิก้าวหน้า แล้วใจจะรวมหยุดนิ่งสู่สภาวธรรมภายในได้เร็ว ให้มองโลกไปตามความจริง ตามหลักโลกธรรม ๘ คือมีลาภ เสื่อมลาภ มียศเสื่อมยศ มีสรรเสริญมีนินทา มีสุขมีทุกข์ หากธรรม ๘ ประการนี้มากระทบ เราต้องไม่หวั่นไหว ทำใจเป็นกลางๆ ให้นึกเสีย ว่าเป็นเรื่องธรรมดา ที่ใครๆ ก็ต้องเจอ หากคิดได้อย่างนี้จะไม่มีอะไร มาเหนี่ยวรั้งใจเราได้ เวลานั่งสมาธิใจจะปล่อยวาง รวมได้เร็ว ทำใจให้เป็นกุศล ให้เบิกบาน แช่มชื่นเยือกเย็นอยู่เสมอ ให้หัน กลับมาสำรวจตัวเองว่าเราเป็นคนขี้หงุดหงิด ฉุนเฉียว เจ้าอารมณ์ ใจร้อน แง่งอน น้อยใจอะไรง่ายๆ หรือเปล่า หากเป็น ต้องแก้นิสัยนี้ ให้ได้ เพราะนิสัยอย่างนี้จะทำให้ใจเรากระเพื่อมได้ง่าย เป็นเหตุทำให้ คุณภาพใจต้องเสียบ่อยๆ ให้แก้โดยการนึกถึงสิ่งที่เป็นกุศล นึกถึงบุญ ต่างๆ ที่เคยทำมาแล้วจนปีติอิ่มเอิบใจ เพื่อให้ใจสบายมีสภาพพร้อม ต่อการหยุดนิ่ง มองทุกคนเหมือนเพื่อนร่วมทุกข์เกิดแก่เจ็บตาย และมีความ ปรารถนาดีต่อทุกคน หากมองอย่างนี้ได้ใจเราจะสบาย ไม่หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย ไม่เจ้าอารมณ์ง่าย จะไปไหนมาไหน ก็จะมีความรู้สึกว่า มีมิตรสหายอยู่รอบตัว ไม่ต้องหวาดระแวง เพราะรู้สึกไม่มีศัตรู รู้สึก ปรารถนาดีไม่คิดพยาบาทอยากทำร้ายใคร มองโลกให้ว่างเปล่า ไม่มีแก่นสาร จะทำงาน ทำภารกิจใดก็ตาม ให้ทำให้เต็มที่ เต็มกำลังสุดความสามารถ แต่ไม่ยึดติด ไม่ต้องไปติด กับ คน สัตว์ สิ่งของ ให้รู้สึกเฉย ๆ เพราะถ้าเราไปยึดติด เวลานั่งสมาธิ เราก็จะปล่อยวางได้ยาก ดังนั้นต้องฝึกให้เป็นคนไม่ติดอะไรตั้งแต่ต้น จนเป็นนิสัย หากเราทำได้อย่างนี้ ในแต่ละวันเวลาที่ผ่านไป เวลาเรานั่งสมาธิ ใจเราก็จะรวมง่าย รวมได้เร็ว และหยุดนิ่งได้สนิทมากขึ้น ทั้งที่ใช้เวลา ในการนั่งสมาธิเท่ากัน เพราะเราไม่ต้องเสียเวลาไปกับการฟุ้งซ่านเสีย เป็นส่วนใหญ่ สมาธิก็จะก้าวรุดหน้าไป และสามารถบรรลุธรรมได้ง่ายๆ อย่างที่เราคาดไม่ถึง.....
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More