ข้อความต้นฉบับในหน้า
เป็นบริวารกฐินทั้งหมด
๗. กฐินทาน เป็นพุทธประสงค์โดยตรง ส่วน
ทานอย่างอื่น จะทรงอนุญาตก็ต่อเมื่อมีคนมาทูลขอ
เช่น การถวายผ้าอาบน้ำฝน
ทานอย่างอื่นได้อานิสงส์เฉพาะผู้ถวาย แต่
กฐินได้อานิสงส์ทั้งทายกผู้ถวายและปฏิคาหก
คือ พระภิกษุผู้รับถวายและอนุโมทนากฐินนั้น
อานิสงส์จากการทอดกฐิน
ฝ่ายทายก ชื่อว่าได้ถวายกาลทานแก่พระสงฆ์
ย่อมได้อานิสงส์ผลบุญเป็นอันมากจากการถวาย
สังฆทานเฉพาะกาล
ฝ่ายสงฆ์ พระภิกษุผู้ได้กรานกฐินและ
อนุโมทนาแล้ว ย่อมได้รับอานิสงส์ตามพระวินัย ๕
ประการ คือ
๑. เที่ยวไปโดยไม่ต้องบอกลา
๒. เที่ยวจาริกไปโดยไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบ
สำรับ
๓. ฉันอาหารคณโภชน์ได้
๔. เก็บอดิเรกจีวรได้ตามปรารถนา
๕. จีวรอันเกิดในวัดนั้น เป็นของผู้อยู่จำพรรษา
ครบถ้วนไตรมาส โดยได้โอกาสขยายเขตจีวรกาล
ออกไปอีก จนถึงกลางเดือน ๔
ท่านสาธุชนทั้งหลาย อานิสงส์การทอดกฐินมี
มากมาย แม้ผู้ชำนาญฤทธิ์มีทิพยจักษุ สามารถ
มองเห็นสิ่งต่างๆ ได้ ทั้งในที่มืดและที่ไกล แต่ไม่อาจ
มองเห็นปลายสุดของอานิสงส์ผลบุญกฐินนี้ได้เลย
เพราะเป็นบุญอสงไขยอัปปมาณัง คำนวณมิได้
นับไม่ได้ ประมาณมิได้
เพราะฉะนั้น ครั้นเมื่อถึงฤดูกาลทานนี้แล้ว
พุทธศาสนิกชนจึงไม่ควรที่จะรีรอช้า มีแต่จะต้องทำ
เพิ่มขึ้นทับทวีให้ยิ่งกว่าที่ผ่านมา เพื่อเป็นเสบียงบุญ
ติดตัว ต่อบุญต่อสมบัติให้สะดวกง่ายดายยิ่งๆ ขึ้น
ไป ในหนทางการสร้างบารมีที่เราจะต้องไปให้ถึงที่
สุดแห่งธรรม