ความเข้าใจในนิโรธและมรรค คู่มือสมภาร หน้า 32
หน้าที่ 32 / 105

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้สำรวจแนวคิดเกี่ยวกับนิโรธ ซึ่งเป็นการดับทุกข์โดยการเข้าใจสมุทัยและการพิจารณาถึงการดับทุกข์อย่างรอบด้าน นอกจากนี้ยังกล่าวถึงการทำมรรคอย่างมีสติ เพื่อเพิ่มพูนศีล สมาธิ และปัญญา โดยอธิบายว่านิโรธเป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้งในญาณ ๓ ที่เชื่อมโยงระหว่างความเข้าใจและการทำให้แจ้งของธรรมชาติแห่งทุกข์และการดับทุกข์.

หัวข้อประเด็น

-นิโรธ
-สมุทัย
-กิจจญาณ
-ศีล สมาธิ ปัญญา
-ญาณ ๓

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เกิดเป็นของจริง เช่นนี้ เรียกว่าสัจจญาณ เมื่อรู้แล้วพากเพียร ละ เพราะเห็นว่าเป็นสิ่งควรละเช่นนี้ เรียกว่ากิจจญาณ เมื่อละ สมุทัยได้ขาดแล้ว ชื่อว่ากตญาณ เช่นนี้เรียกว่า พิจารณาสมุทัย ซึ่งเป็นไปในญาณ ๓ เมื่อมีสมุทัยเกิดขึ้นแล้ว ก็ต้องดูให้รู้ถึงวิธีดับเหตุแห่ง ทุกข์อันนี้ให้ได้ตลอด ที่เรียกว่านิโรธ นิโรธนี้เป็นดวงกลมใสอยู่ ในศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ขนาดวัดตัดกลาง ๕ วา ขณะเมื่อมีนิโรธแล้ว สมุทัยย่อมหมดไป เหมือนรัศมีของ พระอาทิตย์ที่ขจัดความมืดให้หายไปฉะนั้น เมื่อเห็นด้วยตาและ รู้ด้วยญาณธรรมกายว่า ความดับไปแห่งสมุทัยเป็นนิโรธจริง ชื่อว่าสัจจญาณ และนิโรธนี้เป็นสิ่งควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าเป็น กิจจญาณ เมื่อรู้เห็นตลอดแล้ว ชื่อว่าทำให้แจ้งซึ่งนิโรธแล้ว จัดเป็นกตญาณ เช่นนี้เรียกว่าได้พิจารณาซึ่งนิโรธ อันเป็นไปใน ญาณ ๓ เมื่อทำนิโรธความดับให้แจ้งได้แล้ว ก็จะพึงทำมรรคให้ เกิดขึ้น มรรคนี้ก็คือ ดวงศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งอยู่ในศูนย์กลาง ๓๐
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More