การศึกษาธรรมปฏิบัติในพระพุทธศาสนา คู่มือสมภาร หน้า 80
หน้าที่ 80 / 105

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เกี่ยวกับการศึกษาธรรมปฏิบัติเพื่อค้นคว้าหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าและการปฏิบัติด้วยความตั้งใจจากพระอาจารย์ที่มีความสามารถด้านธรรมปฏิบัติ ผ่านการเรียนรู้และถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้อื่น โดยเฉพาะการปฏิบัติที่พิสูจน์ได้ และการเป็นศิษย์ของพระอาจารย์ที่โดดเด่นในทางธรรม เช่น พระมงคลทิพมุนี, พระครูฌานวิรัติ และพระอาจารย์สิงห์ การฝึกฝนที่ทำด้วยความตั้งใจจริงและมุ่งมั่นในการช่วยตนให้พ้นทุกข์นั้นเป็นหัวใจของการศึกษานี้ โดยเฉพาะการฝึกฝนในคัมภีร์มหาสติปัฏฐาน ที่ทำให้ผู้ปฏิบัติทุกคนสามารถเข้าใจหลักธรรมในทางปฏิบัติมากยิ่งขึ้น โดยผ่านการร่วมมือกับครูบาอาจารย์ที่มีชื่อเสียง

หัวข้อประเด็น

-การศึกษาธรรมปฏิบัติ
-คัมภีร์มหาสติปัฏฐาน
-พระอาจารย์
-การค้นคว้าหลักธรรม
-การช่วยเหลือผู้อื่น

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ปฏิบัติตามที่ตั้งใจไว้ ควบคู่ไปกับการเรียนคันถธุระ คือ การศึกษาพระปริยัติธรรมเพื่อค้นคว้าหลักธรรมคำสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่จารึกไว้เป็น ภาษาบาลี โดยเฉพาะคัมภีร์มหาสติปัฏฐาน อันเป็น คัมภีร์ที่ว่าด้วยหลักการปฏิบัติโดยตรง ท่านศึกษาธรรมปฏิบัติเรื่อยไปจากสำนักนี้ไปสู่สำนักโน้น ได้ยินใครว่าที่ไหนดีเป็นต้องพยายามขอเข้าเป็นศิษย์ ศีกษาธรรมปฏิบัติด้วย เช่น พระมงคลทิพมุนี (มุ่ย) อดีตเจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิ พระครูฌานวิรัติ (โป๊) วัด พระเชตุพนฯ พระอาจารย์สิงห์ วัดละครทำ พระอาจารย์ ปลื้ม วัดเขาใหญ่ ซึ่งล้วนเป็นพระอาจารย์ที่ทรงคุณวิเศษ ในทางธรรมปฏิบัติ เป็นเยี่ยมทางปริยัติ งามทั้งศีลา จารวัตร และมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย หลวงพ่อวัด ปากน้ำาฝึกฝนธรรมปฏิบัติด้วยความตั้งใจจริง จนครูบา อาจารย์รับรองผลแห่งการปฏิบัติ และชักชวนให้อยู่ ช่วยกันสอนผู้อื่นต่อไป แต่ท่านยังคงรู้สึกว่า ความรู้เท่า นี้ยังไม่เพียงพอที่จะช่วยตนเองให้พ้นทุกข์ได้ Co
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More