ข้อความต้นฉบับในหน้า
ข้อที่ ๙ ความสำรวมในอาชีพ
ความสำรวมในศีลหรือความสำรวมกายกับวาจานี้เอง ต่อมาได้กลายมาเป็นความ
สำรวมในอาชีพของเรา ซึ่งส่งผลมาถึงความทุกข์และความสุขในการดำรงชีวิตของเราเป็น
อย่างมากอีกด้วย ดังได้กล่าวแล้วว่า การบรรเทาทุกข์ประจำสรีระนั้น เราจำเป็นต้องได้
ปัจจัย ๔ มาเติมธาตุ ๔ ให้กับร่างกาย เราได้อาหารมาเติมธาตุดิน เราได้น้ำมาเติมธาตุน้ำ
เราได้เครื่องนุ่งห่มมาเติมธาตุไฟ เราได้ที่อยู่อาศัยมาเติมอากาศบริสุทธิ์และช่วยป้องกัน
ภัยธรรมชาติ เราได้ยารักษาโรคมาบำบัดและบำรุงธาตุ ๔ ให้ร่างกายมีภูมิต้านทานสู้กับ
เชื้อโรคต่าง ๆ ที่รุมเล่นงานในคราวเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นต้น
€
แต่เนื่องจากปัจจัย ๔ เหล่านี้ เราต้องไปประกอบอาชีพต่าง ๆ เพื่อให้ได้ปัจจัย
มาเติมธาตุ ๔ ให้ตัวเรา และโดยที่อุปกรณ์สำคัญที่ใช้ในการแสวงหาปัจจัย ๔ ก็คือ “กาย”
กับ “วาจา” ของแต่ละคน กายกับวาจาที่ใช้รักษาศีลและกายกับวาจาที่ใช้ประกอบอาชีพ
ก็คือกายกับวาจาของคน ๆ เดียวกัน
ดังนั้น “ความสำรวมในอาชีพ” จึงหมายถึง การเลี้ยงชีพด้วยการไม่ฆ่า ไม่ลัก
ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่พูดเท็จ ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อ โดยสรุป
ก็คือ “การเลี้ยงชีพโดยไม่ทำผิดศีล” นั่นเอง
สิ่งที่ต้องระมัดระวังให้ดี ก็คือ หากเราแสวงหาปัจจัย ๔ มาด้วยความไม่สำรวม
ในศีล ปัจจัย ๔ ที่ได้มาก็ไม่บริสุทธิ์ เพราะได้มาด้วยพฤติกรรมที่ไม่บริสุทธิ์ อาชีพที่ทำ
นั้นก็เป็นอาชีพที่ไม่บริสุทธิ์ ธาตุ ๔ ที่เติมเข้าไปก็เป็นธาตุไม่บริสุทธิ์ตามไปด้วย ทำให้
อัตราการตายของเซลล์ในร่างกายเพิ่มขึ้นตามไปอีกด้วย ทุกข์โทษต่าง ๆ ก็จะเกิดขึ้นกับ
ชีวิตตามมาอีกมากมาย ด้วยเหตุนี้ ความเข้าใจถูกในเรื่องความสำรวมในอาชีพนั้น จึงมีความ
สำคัญต่อชีวิตของคนเราอย่างมาก เพราะทำให้เราสามารถแยกแยะได้ว่า
อย่างไร
ประการที่ ๑ การดำรงชีพของมนุษย์กับสัตว์มีความแตกต่างกันอย่างไร
ประการที่ ๒ กรรมดีกรรมชั่วที่เกิดขึ้นจากการประกอบอาชีพมีความแตกต่างกัน
ประการที่ ๓ สัมมาอาชีพกับมิจฉาอาชีพมีความแตกต่างกันอย่างไร
๓
ผลจากการที่เราสามารถแยกแยะ ๓ เรื่องนี้ได้ก็คือ ทำให้เราสามารถแยกแยะตัดสินได้
ว่า อะไรถูก-ผิด ดี-ชั่ว บุญ-บาป ควรทำไม่ควรทำ ทำให้สามารถลดปัญหาความขัดแย้ง
ๆ ที่เกิดจาก “ปัญหาการดำรงชีพ” และ “ปัญหาการอยู่ร่วมกัน” ลงไปได้อย่างมาก
ต่าง
๔.๑ การดำรงชีพของมนุษย์กับสัตว์มีความแตกต่างกันอย่างไร
มนุษย์กับสัตว์นั้น ต่างก็ยังมีธาตุในตัวที่ไม่บริสุทธิ์ จึงต้องเติมธาตุ ๔ ให้กับร่างกาย
ของตัวเองเช่นเดียวกัน แต่การเติมธาตุ ๔ ของมนุษย์กับสัตว์มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง