บุคลิกของคนที่มีสัจจะ วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน มกราคม พ.ศ.2555 หน้า 66
หน้าที่ 66 / 112

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอบุคลิกภาพของผู้ที่มีสัจจะ โดยเฉพาะคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ที่มีความจริงใจต่อผู้คนและทุ่มเทให้กับการสอนธรรมะให้กับลูกศิษย์ทุกคนอย่างแท้จริง ท่านเคยเล่าว่าในยุคที่พระมงคลเทพมุนีมีชีวิตอยู่ การคัดเลือกอาจารย์ผู้สอนธรรมะนั้นต้องมีความสามารถในการดูแลลูกศิษย์ด้วย ความรับผิดชอบในความเป็นอยู่และความปลอดภัยของลูกศิษย์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่หลวงปู่ได้สั่งสอนในศูนย์กลางกายธรรมอรหัต

หัวข้อประเด็น

-บุคลิกภาพและความซื่อสัตย์
-คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง
-ศาสนาและการสอนธรรมะ
-ความรับผิดชอบต่อศิษย์
-การดูแลลูกศิษย์ในศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๖๔ หลวงพ่อตอบปัญหา โดย : พระภาวนาวิริยคุณ Answer คําตอบ บุคลิกของคน มีสัจจะเป็นอย่างไร? outrym ๓ คำว่า สัจจะ แปลว่า ซื่อสัตย์ หรือ ความจริง บุคลิกลักษณะของคนมีสัจจะอยู่ในตัวมี อย่าง ซึ่งหลวงพ่อได้พบในตัวของคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ผู้ให้กำเนิด วัดพระธรรมกาย บุคลิกลักษณะที่ ๑ มีสัจจะกับบุคคล คือ จริงใจต่อคน ๑ คุณยายท่านจะคบค้าสมาคมกับใครก็ตาม หรือว่าใครจะฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของท่านก็ตาม ท่านมีความจริงใจกับบุคคลเหล่านั้น คือเมื่อรับเขาเข้าหมู่หรือว่ารับเป็นลูกศิษย์แล้ว ท่านก็มีความ จริงใจต่อเขา ท่านเคี่ยวเข็ญทุกคนเลย หวังจะให้เขาเข้าถึงธรรม เข้าถึงพระธรรมกาย แตกฉาน วิชชาธรรมกายเหมือนกับท่าน ใครจะโง่ ใครจะฉลาดแค่ไหนก็แล้วแต่ ท่านเคี่ยวเข็ญหมด จะอายุ มากหรืออายุน้อย ภูมิเดิมจะเป็นอะไร อย่างไร ท่านไม่เกี่ยง จะทำหน้าที่ดีไม่ดีอย่างไร ท่านก็ไม่ เกี่ยง มีฐานะดีไม่ดีอย่างไรไม่เกี่ยง เมื่อท่านรับเป็นลูกศิษย์แล้ว ท่านทุ่มเทให้สุด ๆ เลย เป็นความ จริงใจที่ท่านมีต่อทุกรูป ทุกคน คุณยายเคยเล่าให้ฟังว่า เมื่อสมัยพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย ยังมีชีวิตอยู่ ในการแต่งตั้งครูบาอาจารย์สอนธรรมะนั้น นอกจาก ผู้นั้นจะชำนาญในการเข้ากลางธรรมกายแล้ว ยังต้องสามารถติดตามแก้ไขและคุ้มครองลูกศิษย์ด้วย หลวงปู่ท่านสั่งว่า ถ้ารับใครมาเป็นลูกศิษย์ ไม่ว่าจะมีจำนวนเท่าไร ต้องเอาเข้ามาไว้ในศูนย์กลาง กายธรรมอรหัตตลอดเวลา เพื่อกลั่นกายกลั่นใจของเขา เพราะเขามาฝากชีวิตไว้กับเราแล้ว ถ้าใครรับลูกศิษย์ แล้วปล่อยให้ลูกศิษย์เกิดอุบัติเหตุเภทภัย หลวงปู่จะเรียกมาเคี่ยวเข็ญ เพื่อสอนวิธีที่จะติดตามคุ้มครองลูกศิษย์ให้ได้บุญตลอดเวลา เพราะว่าเมื่อเขามาสมัครเป็นลูกศิษย์แล้ว ก็ต้องเป็นกันไป เอาไปให้ได้ทุกคน ดังนั้น โดยทั่วไปอุบัติเหตุเภทภัยร้ายแรงหนัก ๆ จึงยากจะ เกิดกับลูกศิษย์ของท่าน แม้กระทั่งทรัพย์สมบัติหรือบริวารก็ถูกดูแลรักษาไปด้วยในตัวเสร็จ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More