ข้อความต้นฉบับในหน้า
៦៨
ข้อคิดรอบตัว
เรื่อง : พระมหาสมชาย ฐานวุฑโฒ (M.D., Ph.D.) จากรายการข้อคิดรอบตัว ออกอากาศทางช่อง DMC
มุมใหม่ ๆ รับปีใหม่
9
การเปลี่ยนวันปีใหม่ของไทยจากวันที่
เมษายน เป็นวันที่ ๑ มกราคม มีความเป็นมา
อย่างไร?
ก่อนอื่นอยากให้ลองคำนวณดูว่า คนที่เกิดวันที่
๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๒ พอถึง ๑ มกราคม พ.ศ.
๒๕๕๒ จะมีอายุเท่าไร
คนที่เกิด พ.ศ. ๒๕๔๒ จนถึง ๒๕๕๒ ตามหลัก
ဝ
ควรจะมีอายุ ปี ใช่ไหม แต่คำตอบคือ ๖๙ ปีเต็ม
เพราะตอนปี ๒๔๘๒ นั้น พอถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม
พ.ศ. ๒๕๔๒ แล้ว วันถัดมาคือวันที่ ๑ มกราคม
ซึ่งยังอยู่ในปี พ.ศ. ๒๔๘๒ พูดง่าย ๆ ว่า วันที่ ๑
มกราคม มาทีหลังวันที่ ๓๑ ธันวาคม ใน พ.ศ. เดียวกัน
ปัจจุบัน ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ จะต้องเป็น
วันแรกของปี วันที่ ๓๑ ธันวาคม เป็นวันสุดท้ายของปี
แต่ตอนนั้นไม่ใช่ คนที่เกิดวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.
๒๔๔๒ เป็นน้องของคนที่เกิดวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ.
๒๔๘๒ ถามว่าทำไม เพราะตอนนั้นวันแรกของปีคือ
๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒
วันสิ้นสุดปี คือวันที่
๓๑
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เราเพิ่งมาเปลี่ยนการนับให้วันที่
๑ มกราคม เป็นวันแรกของปีในปี พ.ศ. ๒๕๕๕
เป็นครั้งล่าสุด เพราะฉะนั้นปี
๒๔๘๓ จึงเป็นปีพิเศษ
ที่มีแค่ ๙ เดือน คือเริ่มต้นที่ 9 เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓
แล้วไปสิ้นสุดปีในวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
ย้อนไปก่อนหน้านี้เราถือว่าวันแรกของปีคือวันแรม
ค่ำ เดือนอ้าย ต่อมาเราเปลี่ยนให้วันแรม ๑ ค่ำ
เดือน ๕ เป็นวันแรกของปี แต่การนับตามจันทรคติ
๑
ซึ่งแต่ละปีจะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ไม่สะดวกและจำยาก
เลยเปลี่ยนไปนับแบบสุริยคติ คือให้วันที่ 9 เมษายน
ของทุกปีเป็นวันขึ้นปีใหม่ เริ่มนับอย่างนี้เป็นครั้งแรก
ในปี ๒๔๓๒ สมัยรัชกาลที่ ๕ แล้วมาเปลี่ยนเป็นแบบ
๕
outrym
ปัจจุบัน เมื่อ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เหตุที่เปลี่ยน
เพราะเรามีการติดต่อกับชาวต่างชาติมากขึ้น จึง
เปลี่ยนให้สอดคล้องกับนานาประเทศ ซึ่งจะทำให้
การติดต่อต่าง ๆ สะดวกมากขึ้น ไม่สับสน
ปัจจุบันในช่วงปีใหม่ คนไทยนิยมส่งการ์ด
อวยพรให้กัน สมัยก่อนเขาส่งความ
ปรารถนาดีให้กันอย่างไรบ้าง?
สมัยก่อนในวันปีใหม่เขาจะส่งความปรารถนาดี
ด้วยการชวนกันไปทำบุญ ซึ่งเป็นการให้ความ
ปรารถนาดีอย่างถูกหลักวิชาที่สุด และที่บอกว่าจะส่ง
ความสุขให้กันนั้น คนส่งต้องมีความสุขก่อนถึงจะส่ง
ให้คนอื่นได้ แล้วความสุขจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ก็ต้อง
ประกอบเหตุคือทำบุญเสียก่อน ความสุขจึงจะเกิด
สมัยก่อนเขาจึงให้ความปรารถนาดีแก่กันด้วยการ
ชวนไปทำความดี ไปสร้างบุญสร้างกุศล เช่น ไปช่วย
งานวัด ปัดกวาดลานวัด ฯลฯ
แต่ถ้าเป็นคนที่มีความสำคัญ มีศักยภาพมาก
และมีการติดต่อกว้างขวางกว่าในระดับชุมชนที่ตัวเอง
อยู่ เช่น เป็นเศรษฐีที่มีการค้าระหว่างเมือง หรือเป็น
พระราชา ซึ่งจะต้องมีการติดต่อกันระหว่างเมือง ฯลฯ
ก็อาจจะใช้วิธีฝากข่าวไปถึงกันโดยวาจาหรือโดย
หนังสือก็ได้ ใครรู้ข่าวอะไรดี ๆ ก็จะบอกกล่าวกัน
อย่างเช่นใครทราบข่าวว่าพระรัตนตรัยบังเกิดขึ้นแล้ว
ในโลก ก็รีบส่งข่าวไปถึงเพื่อนฝูงหรือคนรู้จัก ข่าวดี
เหล่านี้จะสร้างความปีติแก่ผู้รับข่าวเป็นอย่างยิ่ง
ๆ
อย่างพระราชามหากัปปินะ เมื่อทรงทราบข่าวการ
เกิดขึ้นของพระรัตนตรัยจากพ่อค้าที่เดินทางไปถึง
เมืองของพระองค์ ก็ทรงปีติจนตัวชาไปเลย และทรง
ตัดสินใจ สละราชสมบัติออกบวช สมัยก่อนเขา
ใจเด็ดขนาดนี้ นี่คือการส่งความปรารถนาดีในรูปแบบ