ข้อความต้นฉบับในหน้า
แต่ความจริงแล้ว คนทั้งสองประเภทนี้เดินอยู่บนเส้นทางเดียวกัน เพราะไม่ว่าคนดี
หรือคนชั่วประกอบอาชีพ ก็ทำกรรมอยู่บนเส้นทางเดียวกัน นั่นคือ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ
แต่สิ่งที่แตกต่างกัน ก็คือ อยู่ใน “ทิศทางที่ตรงกันข้าม” บนเส้นทางเดียวกัน
ดังนั้น ทางดีกับทางชั่ว จึงมิได้อยู่กันคนละเส้นทาง แต่อยู่บนเส้นทาง “กฎแห่งกรรม”
เดียวกัน ทว่าเดินสวนทางกันคนละเป้าหมาย คนละทิศทาง คนละแรงผลักดัน ผลบั้นปลาย
จึงออกมาแตกต่างกัน
ตัวอย่างเช่น คนสองคน คนหนึ่งชั่ว คนหนึ่งดี คนชั่วเลี้ยงชีพด้วยการทุจริตหลอกลวง
ส่วนคนที่เลี้ยงชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ทั้งสองคนนี้ทำงานหาทรัพย์มาได้เหมือนกัน
แต่การกระทำในขณะที่กำลังประกอบอาชีพย่อมต่างกันอย่างแน่นอน
คนที่เลี้ยงชีพด้วยการทุจริต ก่อนจะหลอกลวงผู้อื่นได้นั้นจะต้องโกหกตัวเองอย่างน้อย
ที่สุดสามครั้ง ครั้งแรกคือสร้างเรื่องโกหก ครั้งที่สองคือโกหกสมความตั้งใจ ครั้งที่สามคือ
ตามจำเรื่องที่เคยโกหกไว้ให้ขึ้นใจ หลังจากนั้นเป็นต้นไป สิ่งที่เขาหวาดระแวงที่สุดก็คือ การ
ถูกจับโกหกได้ ดังนั้น เพื่อปกปิดไม่ให้ความจริงเปิดเผยออกมา เขาก็ต้องทำชั่วเพิ่มขึ้น
ซ้ำแล้วซ้ำอีก เขาก็ต้องตามโกหกเรื่องนั้นซ้ำแล้วซ้ำอีกไปตลอดชีวิต
ๆ
สิ่งที่น่าคิดก็คือ คนที่วันหนึ่ง ๆ ต้องตามจำเรื่องโกหกหลาย ๆ เรื่องไปจนตลอด
ชีวิต จะมีความสุขได้อย่างไร เพราะไม่ว่าไปทำงานการใด ก็ต้องคอยหวาดระแวงว่า ความเท็จ
ที่ปกปิดไว้จะถูกเปิดโปงอยู่ตลอดเวลา เมื่อต้องหวาดระแวงแบบนี้อยู่ทุกวัน สุขภาพกาย
ก็โทรม สุขภาพจิตก็ย่ำแย่ ผลสุดท้ายก็กลายเป็นคนที่สับสนระหว่างเรื่องจริงกับเรื่องที่ตน
โกหกไว้ ต้องกลายเป็นคนป่วยด้วยโรคประสาทหลอนบ้าง โรคความจำเสื่อมบ้าง ซึ่งเป็น
ผลกรรมที่เกิดจากการหลอกลวงผู้อื่น แต่ต้องโกหกตัวเองตลอดชีวิตนั่นเอง
เมื่อเรามีความเข้าใจมาถึงตรงนี้ ก็จะเห็นภาพรวมของเส้นทางชีวิตแล้วว่า มนุษย์เริ่ม
หลุดออกจากเส้นทางแห่งการทำกรรมดีเข้าสู่เส้นทางแห่งการทำกรรมชั่วตั้งแต่ไม่เฉลียวใจ
คิดว่า เป้าหมายแท้จริงของการทำงาน ก็คือการเติมธาตุ ๔ ให้กับร่างกาย แต่เพราะเรา
ไม่เฉลียวใจนี่เอง ปัญหาที่ตามมาก็คือ ไม่สามารถแยกแยะตัดสินว่าอะไรถูก-ผิด อะไร
ดี-ชั่ว อะไรบุญ-บาป อะไรควรทำไม่ควรทำ ได้ตรงตามความเป็นจริง ทำให้ก่อปัญหา
ต่าง ๆ ขึ้นตามมาโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ผลสุดท้ายก็คือ ได้ความทุกข์จากการดำเนินชีวิต
ไปในเส้นทางของกรรมชั่วอย่างถลำลึกโดยไม่รู้ตัว ชีวิตจึงต้องพบกับความตกต่ำทุกข์ยาก
อีกมากมายนับไม่ถ้วน แต่สิ่งที่เลวร้ายกว่านั้น ก็คือ จิตใจจะถูกพอกพูน ห่อหุ้ม แช่อิ่ม หมักดอง
ด้วย “อาสวกิเลส” ให้แน่นหนามากขึ้นไปอีก ทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร
อย่างทุกข์ทรมานแสนสาหัสต่อไปอีกอย่างไม่มีวันจบสิ้น
(อ่านต่อฉบับหน้า)
๖๓