กรรมดี กรรมชั่วในอาชีพ วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน มกราคม พ.ศ.2555 หน้า 63
หน้าที่ 63 / 112

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาได้กล่าวถึงการทำกรรมดีและกรรมชั่วที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพ โดยนำเสนอว่าคนทำกรรมใดไว้ ย่อมเห็นกรรมนั้นในตน โดยแบ่งแยกผลลัพธ์ที่แตกต่างกันระหว่างอาชีพดีและอาชีพชั่ว ไม่เพียงแค่ในผลประโยชน์ทางการเงิน แต่ยังรวมถึงความสุขและนิสัยที่ติดตัว โดยสรุปว่าเงินที่ได้จากอาชีพที่ดีหรือไม่ดีก็มีความแตกต่างในหลากหลายด้าน.

หัวข้อประเด็น

-กรรมดี
-กรรมชั่ว
-อาชีพ
-กฎแห่งกรรม
-สัมมาอาชีพ
-มิจฉาอาชีพ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๔.๒ กรรมดี กรรมชั่วที่เกิดขึ้นจากการประกอบอาชีพมีความแตกต่างกันอย่างไร แท้ที่จริงแล้ว ในขณะที่เรากำลังทำงานอาชีพอยู่นั้น เราได้ถูกบังคับให้ “ทำกรรม ไปด้วย คำว่า “กรรม” เป็นคำกลาง ๆ มีทั้ง “กรรมดี” และ “กรรมชั่ว” พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบว่า การดำเนินชีวิตของทุกคนในโลกนี้ล้วนตกอยู่ ภายใต้ “กฎแห่งกรรม” ด้วยกันหมดทั้งสิ้น ดังธรรมภาษิตที่ปรากฏในจูฬนันทิยชาดก ว่า คนทำกรรมใดไว้ ย่อมเห็นกรรมนั้นในตน คนทํากรรมดี ย่อมได้รับผลดี คนทำกรรมชั่ว ย่อมได้รับผลชั่ว คนหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น จากความจริงในเรื่องกฎแห่งกรรมนี้เอง ทำให้เราได้ทราบว่า ในการทำงานอาชีพนั้น ถ้าหากเราเลือกอาชีพถูก ก็เท่ากับว่าเรากำลังทำกรรมดี หรือเรากำลัง “ทำอาชีพที่เป็น กรรมดี” เงินทองที่ได้รับตอบแทนมานั้น ก็เป็นเงินที่มาจากการทำกรรมดี แต่ในทางตรง กันข้าม ถ้าเราเลือกอาชีพผิด ก็เท่ากับว่าเรากำลัง “ทำอาชีพที่เป็นกรรมชั่ว” ในขณะที่เรา ทำงานอยู่นั้น ก็กลายเป็นว่ากำลังก่อกรรมชั่วอยู่ด้วย บางคนอาจจะแย้งว่า การประกอบอาชีพไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องกรรมดีกรรมชั่ว เพราะไม่ว่าจะทำอาชีพดีหรืออาชีพเลว ก็ได้เงินเหมือนกันหมด จึงไม่จำเป็นต้องสนใจว่า อาชีพนั้นเป็นสัมมาอาชีพหรือมิจฉาอาชีพ แต่ถ้าได้ไตร่ตรองให้ลึกซึ้งแล้ว ก็จะพบว่า เงิน ที่ได้รับจากสัมมาอาชีพกับมิจฉาอาชีพนั้น ไม่ว่าจะกี่ร้อย กี่พัน กี่ล้านก็ตาม สิ่งที่ได้รับ กลับมานั้น แตกต่างกันยิ่งกว่าฟ้ากับดินหลายประการ กล่าวคือ ๑ “ความสะอาด” กับ “ความสกปรก” ของเงินที่ได้รับกับความแปรเปลี่ยนของธาตุ ในตัว ก็แตกต่างกัน กัน ๒ อัตราการตายการเกิดของเซลล์ ในขณะที่ประกอบอาชีพดีกับอาชีพชั่ว ก็แตกต่าง ๓ “สุขภาพกาย” กับ “สุขภาพจิต” อันเนื่องมาจากการใช้ รใช้ชีวิตในแต่ละวัน ก็ แตกต่างกัน ๔ “ความสุข” กับ “ความทุกข์” ในการแสวงหา การเก็บรักษา การใช้เงินก้อนนั้น ชีวิต ก็แตกต่างกัน เลยงชวด ๕ “นิสัยดี” กับ “นิสัยเลว” ที่ติดตัวไปตลอดชีวิต ก็แตกต่างกัน 5 “บุญ” กับ “บาป” ที่ติดตัวไปข้ามภพข้ามชาติ ก็แตกต่างกัน ๓ “มิตร” กับ “ศัตรู” ที่เกิดจากอาชีพดีกับอาชีพชั่ว ก็แตกต่างกัน 1 จูฬนันทิยชาดก, ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๑๔๔/๑๐๓ (มจร.) จด
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More