ข้อความต้นฉบับในหน้า
ข้อที่ ๓ - ๔ ความหิว - ความกระหาย
คำถามก็คือทำไมต้องหิวด้วย ทำไมต้องกระหายด้วย ถ้าไปถามแพทย์ที่มีความตั้งใจ
ศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง เขาก็จะตอบว่า เพราะร่างกายมนุษย์ต้องการพลังงาน จึงต้อง
กินเข้าไป ดื่มเข้าไป เพื่อเอาพลังงานมาชดเชยส่วนที่หายไป ร่างกายจึงจะเดินได้ ทำงาน
ได้ โดยส่วนหนึ่งเอามาเป็นพลังงาน ส่วนหนึ่งเอามาซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และอีกส่วนหนึ่ง
นำมาสร้างความเจริญเติบโตให้กับร่างกาย
แต่ถ้านำเรื่องนี้ไปกราบทูลถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราก็จะได้คำตอบในลักษณะ
ที่พระพุทธองค์ทรงมองลึกไปถึงเรื่องธาตุ ๔ ว่า เพราะเหตุที่ธาตุ ๔ ในตัวคนเราไม่บริสุทธิ์
จึงมีการแตกสลายไปเป็นธรรมดา ร่างกายจึงต้องการให้เติมธาตุ ๔. เข้าไปทดแทน โดย
เริ่มจาก ๑. กินอาหารเข้าไปเพื่อเติมธาตุดิน ๒. ดื่มน้ำเข้าไปเพื่อเติมธาตุน้ำ ๓. สูดอากาศ
เข้าไปเพื่อเติมธาตุลม ๔. นุ่งห่มปกคลุมร่างกายเพื่อเติมธาตุไฟ ซึ่งเป็นการเติมธาตุ ๔
จากภายนอกเพื่อเข้าไปทดแทนธาตุ ๔ ภายในที่แตกสลายไปทั้งสิ้น ธรรมชาติของสรีระ
บังคับให้เราต้องเติมธาตุ
เข้าไปตลอดชีวิต มิฉะนั้นเราก็จะต้องตายก่อนเวลาอันควร
P
เพราะร่างกายขาดแคลนธาตุ ๔ นั่นเอง
แต่การเติมธาตุ ๔ ที่สิ้นเปลืองเวลาและงบประมาณมากที่สุด ก็คือการกินกับการดื่ม
เพราะกว่าจะได้อาหารมากิน ได้น้ำมาดื่มในแต่ละมื้อแต่ละคราวนั้น คนเราต้องทำงาน
หนักเพื่อแลกมา ขณะที่การเติมธาตุลม เพียงแค่สูดอากาศเข้าไป ก็เติมธาตุลมได้ทันที
หรือถ้าจะเติมธาตุไฟ ก็หาเสื้อผ้ามาใส่ ก็อุ่นขึ้นทันที ได้เสื้อผ้ามาตัวหนึ่งก็ใส่ได้นานเป็นปี
แตกต่างกับการเติมธาตุน้ำกับธาตุดินอย่างมาก เพราะธาตุน้ำระเหยจากร่างกายได้เร็ว
หากปล่อยให้ร่างกายขาดน้ำ ก็จะป่วยไข้ทันที จึงมีความจำเป็นว่าวันหนึ่ง ๆ
ต้องดื่มน้ำ
หลายครั้ง ส่วนการเติมธาตุดิน ซึ่งได้จากการกินอาหาร ก็จำเป็นต้องทำงานหนัก เพื่อ
แลกเอาเงินไปซื้อวัตถุดิบมาปรุงอาหาร เมื่อปรุงสุกแล้วจึงจะกินได้ เมื่อกินเสร็จแล้วก็ต้อง
เก็บล้างภาชนะ ทำให้เสียเวลามาก ถ้ากินเหลือก็ต้องเททิ้ง ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณ
โดยใช่เหตุ เป็นต้น
ดังนั้น ความหิว ความกระหายที่เกิดจากภาวะร่างกายขาดธาตุ ๔ จึงเป็นภาระหนัก
ที่สิ้นเปลืองเวลาและงบประมาณมากที่สุด ทำให้เราต้องพะว้าพะวัง เพราะกลัวว่าคนอื่น
จะแย่งเอาไปหมด เดี๋ยวจะหาได้ไม่ทันกิน ไม่ทันใช้ จึงกลายเป็นปัญหาละโมบโลภมาก
แก่งแย่งชิงดีกัน ทั้ง ๆ ที่ตามจริงแล้ว ปริมาณอาหารของตนก็มีเพียงพอ แต่ที่รู้สึกว่า
ไม่พอก็เพราะความไม่รู้ประมาณของคนเรา ทำให้เราต้องทุกข์จากการหา ทุกข์จากการเก็บ
ทุกข์จากการใช้ ซึ่งเป็นผลพวงมาจากความหิวความกระหายอันเป็นทุกข์ประจำสรีระของ
คนเรานั่นเอง