ข้อความต้นฉบับในหน้า
ศีลแต่ละข้อจะมีองค์ประกอบที่ต้องรักษาเอาไว้ ถ้าศีลขาดเมื่อใด ความไม่บริสุทธิ์
ก็จะเพิ่มขึ้นในร่างกายทันที โดยเพิ่มระดับความไม่บริสุทธิ์จากความผิดปกติ
ของธาตุ ๔
ขององค์ประกอบของศีลไปทีละข้อ
ในกรณีของศีลข้อแรก ก็มีองค์ประกอบอยู่ ๕ ข้อ เริ่มตั้งแต่ ๑.
สัตว์นั้นยังมีชีวิต
๒. เราก็รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต ๓. เรามีเจตนาคิดจะฆ่า ๔. เราลงมือฆ่าสัตว์นั้น และ ๕. สัตว์
นั้นตายสมใจ พอครบองค์ประกอบ ๕ ข้อนี้ ศีลข้อแรกคือไม่ฆ่า ก็ขาดลงทันที มือเปื้อน
เลือดเสียแล้ว
เมื่อศีลข้อแรกขาด ก็แสดงว่าการกระทำของเราไม่บริสุทธิ์ ร่างกายที่ประกอบด้วย
ธาตุ ๔ ในตัว จึงไม่บริสุทธิ์ตามไปด้วย ส่งผลให้อัตราการตายของเซลล์เพิ่มมากขึ้นกว่า
ปกติอีกด้วย ทุกข์ก็เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย นี้เป็นตัวอย่าง ดังนั้น อาการที่ธาตุ ๔ ไม่บริสุทธิ์
ก็คืออาการที่เกิดจากองค์ประกอบแห่งศีลผิดปกติไปทีละข้อ ๆ นั่นเอง
ๆ
ๆ
เพราะฉะนั้น ถ้าเราไม่สำรวมกายกับวาจาในศีลข้ออื่น ๆ ด้วย ธาตุ ๔ ในตัวของ
เราก็จะสกปรกขึ้นเรื่อย ๆ เช่น เราอาจจะไม่ฆ่า แต่ไปปล้นหรือไปเผาบ้านคนอื่น เราอาจ
จะไม่ได้ไปยุ่งกับลูกเมียคนอื่น แต่ไปคุยเล่นหยอกล้อนิดหน่อย เราอาจจะไม่ได้โกหก แต่
ยุแหย่ให้เขาทะเลาะกัน สิ่งเหล่านี้ก็เป็นความไม่สำรวมกายกับวาจา ไม่เพียงแต่ทำให้
อัตราการตายของเซลล์เพิ่มขึ้นแต่จะมีผลเป็นทุกข์เป็นโทษกับชีวิตทั้งด้านกฎหมาย เพื่อนบ้าน
สังคม หรืออื่น ๆ อีกหลายเรื่องตามมาด้วย
ๆ
การสำรวมในศีลนั้นมีคุณประโยชน์ต่อคนเราอย่างมากมายมหาศาล ดังธรรมภาษิต
ต่อไปนี้ “ความสำรวมในศีลทำให้กายกับวาจาบริสุทธิ์ เป็นบ่อเกิดแห่งความสุข เป็นบ่อเกิด
แห่งโภคทรัพย์ เป็นบ่อเกิดแห่งนิพพาน”
ด้วยเหตุนี้ ถ้าเราหมั่นรักษาศีลมากเท่าใด ความสำรวมกายกับวาจาก็จะทำให้ธาตุ
๔ ในตัวของเรา มีความบริสุทธิ์เพิ่มขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง ผิวพรรณวรรณะจึงผ่องใส โดยไม่
ต้องหาเครื่องสำอางใด ๆ มาพอกมาทา เพราะว่าศีลได้ช่วยกลั่นกรองธาตุ
๔. ในตัวให้
บริสุทธิ์ จนแสดงความผ่องใสออกมาให้เห็นชัดเจน เครื่องกรองน้ำสามารถกรองเอาฝุ่นผง
ที่แขวนลอยในน้ำออกไปได้ฉันใด ศีลก็สามารถกรองกิเลสหยาบออกจากใจไปได้ฉันนั้น
นี่คือสิ่งที่เราต้องตระหนักให้มาก
กล่าวโดยสรุปก็คือ ความสำรวมกายกับวาจา รวมอยู่ในศีล ๕ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗
นี้เอง เรารักษาศีลได้บริสุทธิ์มากเท่าใด กายกับวาจาก็บริสุทธิ์มากเท่านั้น อัตราการตาย
ของเซลล์ก็ลดลง เพราะธาตุในตัวได้ถูกศีลกรองให้บริสุทธิ์นั่นเอง
(อ่านต่อฉบับหน้า)
๖๗