ข้อความต้นฉบับในหน้า
๙๖
00 มม เม
เรื่อง : โค้ก อลงกรณ์ (www.banyaibook.com)
outrym
หลังนำลด
อุทกภัยครั้งใหญ่ในประเทศตั้งแต่กลางปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา ทำให้การดำเนินชีวิตเป็นอัมพาต ขยับเขยื้อน
ทำอะไรไม่ได้ แม้พอจะเคลื่อนไหวกระดุกกระดิกได้บ้าง แต่ก็ไม่คล่องตัวเหมือนปกติ
สิ่งที่ทำได้คือ อดทนและรอเวลา ด้วยความหวังว่า เมื่อน้ำเริ่มลดระดับลง เราจะค่อย ๆ แข็งแรงขึ้น
อีกครั้ง ชีวิตเราก็จะได้เริ่มเคลื่อนไหวกันต่อ
ตรงนี้มันเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของมนุษย์เรา ที่รู้จักจังหวะชีวิต ว่าควรจะออกแรงช่วงไหน
ที่จะผลักดันให้ชีวิตดำเนินต่อไป
หลังจากที่น้ำเริ่มลด ผมผ่านร้านอาหารตามสั่ง ร้านตั้งอยู่ริมถนนเส้นบางขันธ์คลองหลวง เคยแวะเข้าไปทาน
หลายครั้ง เป็นร้านเพิงสังกะสี สภาพร้านนอกจากเสียหายจากน้ำท่วมแล้ว ยังเจอคลื่นจากรถบรรทุกที่วิ่งผ่าน
โถมปะทะทุกวัน ร้านจึงบอบช้ำยับเยิน และทุกร้านแถวนั้นเป็นเช่นนี้เหมือนกันหมด
หลังน้ำลดหมดแล้ว ได้ผ่านไปอีกครั้ง เห็นคนนั่งกินเต็มร้าน บรรยากาศการค้าขายกลับมาคึกคักดังเดิม
น่าแปลกที่มีร้านนี้เพียงร้านเดียวที่พร้อมให้บริการก่อน ในขณะที่ร้านอื่นยังปรับปรุงซ่อมแซมไม่เสร็จ
การที่ร้านนี้ฟื้นคืนชีพอย่างรวดเร็ว คงเพราะเจ้าของร้านใช้เวลาช่วงที่ธุรกิจจมอยู่ในน้ำ
โผล่ขึ้นมาสำรวจและประเมินความเสียหายล่วงหน้า เตรียมวางแผนปรับปรุงสภาพร้าน โต๊ะเก้าอี้นั่ง
ข้าวของในครัว อุปกรณ์ต่าง ๆ อะไรต้องทิ้ง ซ่อม หรือหาซื้อใหม่ เตรียมหาทุน เตรียมกำลังลูกน้องให้พร้อม
ที่สำคัญคือการรู้จักจัดลำดับความสำคัญ อะไรควรทำก่อน ทำหลัง เพื่อดำเนินการได้ทันทีที่น้ำลด
ได้ไม่ยาก
เช่นเดียวกับการจัดการกับชีวิต หากภาวะปกติที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ลำดับขั้นตอนทำก่อนหลัง เราจัดการ
แต่หากเป็นช่วงที่มรสุมกระหน่ำเข้ามาในชีวิต ปัญหามากมายทะลักดั่งทำนบกั้นน้ำแตก จะตัดสินใจ
อย่างไร จะออกไปกั้นทำนบก่อน หรือควรจะรีบขนของขึ้นข้างบน จะโทร.ขอความช่วยเหลือ จะต้องอพยพ
คนในบ้าน หรือจะคว้าอะไรติดตัวออกมาไว้ก่อน ยามฉุกละหุกเช่นนี้ ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะจัดการในทุกอย่าง
ได้พร้อมกัน