ข้อความต้นฉบับในหน้า
๖๖
คิดไปว่า ทุกคนเกิดมาแล้วล้วนต้องตายกันหมด แม้แต่พระองค์ก็ไม่มีข้อยกเว้น วังสามฤดูนี้
จะต้องกลายเป็นสุสานสามฤดูไม่ช้าก็เร็ว อาณาจักรที่จะได้ขึ้นครองราชย์นี้ ไม่ว่าจะ
มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลเพียงใด จะมีไพร่ฟ้าประชาชนมากมายเท่าใด แท้ที่จริงก็คือ
อาณาจักรที่มีแต่คนแก่ คนเจ็บ คนตายอยู่ตลอดเวลาเท่านั้น หาได้มีสิ่งใดจีรังยั่งยืน
เป็นแก่นสารไม่ เพราะยังไม่มีใครพ้นทุกข์ประจำสรีระนี้ได้เลย
พระองค์ทรงยอมรับความจริงเหล่านี้ จึงทรงสละวังออกผนวช เพื่อค้นคว้าหาความรู้
สำหรับการกำจัดทุกข์ให้สิ้นไป ทรงออกผนวชเพื่อจุดประสงค์เดียวกันนี้มาหลายภพหลาย
ชาติ ก็เพราะทรงตระหนักในทุกข์ประจำสรีระเหล่านี้ แม้แต่การปวดอุจจาระ การปวดปัสสาวะ
ก็ไม่ทรงปล่อยผ่านเลย
ดังนั้น เราเองก็ต้องดูพระองค์เป็นแบบอย่าง เมื่อปวดอุจจาระปวดปัสสาวะเมื่อใด
ก็ให้เตือนตัวเองว่า ทุกข์จากการปวดอุจจาระปัสสาวะนี้เกิดจากธาตุ ๔ ในตัวของเรายัง
ไม่บริสุทธิ์ ถ้าหากเรายังไม่หาทางกำจัดทุกข์ก็จะต้องทรมานกับโรคเรื้อรังประจำสรีระนี้
ไม่รู้จบรู้สิ้น ดังนั้นเราจะประมาทในชีวิตไม่ได้
ข้อที่
๗-๘ ความสํารวมกาย - ความสํารวมวาจา
คำว่า “สำรวม” แปลว่า "ระมัดระวังอย่างมีสติ” ในที่นี้ หมายถึงการระวังกายกับ
วาจาไม่ให้เกิดการเบียดเบียนผู้อื่น
สำรวมกาย คือ ไม่ฆ่า ไม่รัก ไม่ประพฤติผิดในกาม
สำรวมวาจา คือ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อ
การสำรวมกายกับวาจานี้ มีผลทำให้ธาตุ ๔ ในตัวมีความบริสุทธิ์เพิ่มขึ้น ส่งผลให้
อัตราการตายของเซลล์ในร่างกายลดลง แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราไม่สำรวมกายกับวาจา
ก็จะทำให้ธาตุ ๔ ไม่บริสุทธิ์ ส่งผลให้อัตราการตายของเซลล์ในร่างกายเพิ่มขึ้นเช่นกัน
คำถามก็คือ การสำรวมกับไม่สำรวมกายและวาจามีผลทำให้อัตราการตายของเซลล์
เพิ่มขึ้นหรือลดลงได้อย่างไร
สมมุติว่ายุงบินมากัดเรา มันต้องการแค่เลือดสักหยดหนึ่งเพื่อประทังชีวิต แต่เรา
ไม่ยอมให้ และตัดสินโทษสถานเดียวที่มันกัดเราคือต้องตาย แล้วก็ตบผัวะ! ปรากฏว่ามัน
ตายคาที่ เราเสียเลือดหนึ่งหยด แต่มันเสียหนึ่งชีวิต เวลายุงตัวอื่น ๆ มากัดอีก เราก็
ตัดสินประหารมันอีก ไม่ว่ามียุงมากัดกี่ตัว ๆ เราออกแรงตบยุงตายไปเป็นร้อย ๆ ทั้ง ๆ ที่
มันกินเลือดเรานิดเดียว
สิ่งที่เกิดขึ้นกับเรา ก็คือ ศีลข้อแรกขาด (เพราะไม่เว้นจากการฆ่าสัตว์)
ศีล แปลว่า ปกติ ถ้าศีลขาดก็แสดงว่า ไม่ปกติ
ที่