การขับถ่ายและความทุกข์ประจำสรีระ วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน ธันวาคม พ.ศ.2554 หน้า 66
หน้าที่ 66 / 124

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับความทุกข์ประจำสรีระที่เกิดจากปัญหาความปวดอุจจาระและปัสสาวะ ซึ่งเป็นผลมาจากความไม่สมดุลของธาตุ ๔ ในร่างกาย การขับถ่ายที่ไม่สมบูรณ์ที่อาจนำไปสู่อาการเจ็บป่วยที่เรื้อรัง หลังจากการศึกษาคำสอนของพระพุทธองค์เกี่ยวกับการรู้จักประมาณในการบริโภคและทำความเข้าใจเกี่ยวกับความทุกข์จากการขับถ่าย ซึ่งทุกคนต้องเผชิญกันทั้งสิ้น อาจเป็นการเตือนใจให้เราใส่ใจในสุขภาพและปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตให้ดีขึ้นเพื่อลดทุกข์เหล่านี้.

หัวข้อประเด็น

-ปัญหาสุขภาพ
-ทุกข์จากการขับถ่าย
-การเข้าใจธาตุ ๔
-การลดทุกข์ประจำสรีระ
-พระพุทธศาสนาและการบริโภค

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๖๔ ปัญหานี้จะแก้ไขได้ด้วยการปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธองค์ในเรื่องรู้จักประมาณ ในการบริโภคปัจจัย ๔ ซึ่งก็คือการฝึกเติมธาตุ ๔ ให้พอดี ทั้งคุณภาพ เวลา และปริมาณที่ ไม่เป็นโทษกับร่างกาย และไม่เหลือทิ้งเหลือขว้างจนกลายเป็นกินล้างกินผลาญ ก็จะทำให้ ทุกข์จากการหา การเก็บ การใช้ ลดลงไปได้มาก เวลาของชีวิตในแต่ละวันก็จะเหลือมาก ขึ้นสำหรับการประพฤติธรรมเพื่อกำจัดทุกข์ประจำสรีระต่อไป ข้อที่ ๕ - ๖ ความปวดอุจจาระ ความปวดปัสสาวะ การปวดปัสสาวะกับการปวดอุจจาระก็เช่นกันทุกข์เหล่านี้เป็นทุกข์ประจำสรีระที่ไม่มี ใครหลีกเลี่ยงได้ สาเหตุของ ๒ เรื่องนี้ เกิดจากความไม่สม่ำเสมอของอุณหภูมิในร่างกาย อันเกิดจากการเผาผลาญธาตุ ๔ - ที่เติมเข้าไปชดเชยธาตุ ๔ ในร่างกายที่แตกสลายไปแล้ว (ด้วยอัตราเฉลี่ย ล้านเซลล์ต่อหนึ่งนาที) moo ดังนั้น ไม่ว่าร้อนเกินไปหรือว่าหนาวเกินไป ร่างกายจะต้องปรับอุณหภูมิด้วยการ ขับปัสสาวะออกมา ขณะเดียวกัน กากอาหารต่าง ๆ ที่เหลือทิ้งจากการเผาผลาญ ร่างกาย ก็ต้องขับออกมาเป็นอุจจาระ เพื่อไม่ให้แปรสภาพเป็นสารพิษตกค้างในร่างกาย ทุกข์จากการขับถ่ายปัสสาวะอุจจาระนี้ เป็นข้อเตือนใจว่า มนุษย์คนใดก็ตาม ไม่ว่า จะร่ำรวยที่สุดในโลก จะสวยที่สุดในโลก จะฉลาดที่สุดในโลก ถ้ายังมีอุจจาระปัสสาวะอยู่ เต็มท้อง ก็ฟ้องว่ายังมีทุกข์ประจำสรีระอยู่ทั้งนั้น ใครก็ตามที่บอกว่าไม่มีทุกข์นั้น ไม่เป็นความจริง ทั้งนี้เพราะตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่ง เข้านอน ทุกคนต่างต้องมีการขับถ่ายเกิดขึ้นอยู่เป็นช่วง ๆ ตลอดทั้งวัน นี่คือความทุกข์ที่ ยังแก้ไขไม่ตก หลอกตัวเองก็ไม่ได้ สำหรับเรื่องปัสสาวะนั้น ถ้าร่างกายไม่สามารถขับถ่าย ออกมาได้ภายในไม่เกิน ๑ ชั่วโมง จะรู้สึกทุรนทุรายมาก และจะมีอาการไข้เกิดขึ้นทันที ส่วนเรื่องอุจจาระนั้น ถ้าไม่ได้ขับถ่าย หรือขับถ่ายไม่ออก ซึ่งเรียกกันว่าท้องผูกสักสองถึง สามวัน ก็จะมีอาการร้อนใน เป็นแผลในปาก รู้สึกเจ็บและทรมานมาก ถ้าอาการท้องผูก ยืดเยื้อไปหลายวัน ก็จะมีอาการไข้เกิดขึ้นเหมือนกัน บุคคลที่มีอาการท้องผูกเป็นประจำ นานไปก็จะเป็นโรคริดสีดวงทวาร ซึ่งจะต้องเสียโลหิตจำนวนมากเป็นระยะ ๆ แม้จะต้อง รักษากันไปตลอดชีวิตก็ยากที่จะหาย เพราะองคาพยพของทวารหนักได้เสื่อมประสิทธิภาพ ไปแล้ว ดังนั้น การปวดอุจจาระ การปวดปัสสาวะ จึงเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากความไม่บริสุทธิ์ ของธาตุ ๔ ในตัวของคนเรานั่นเอง เป็นความทุกข์ที่เบียดเบียนเราให้อ่อนแอเปราะบาง อยู่ทุกวัน ๆ แต่ก็ไม่มีใครเฉลียวใจว่ามันคือความทุกข์ เพราะเหตุที่ทรงตระหนักถึงทุกข์ประจำสรีระนี้มาตั้งแต่ครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More