การดูแลคนไข้อย่างเต็มที่ ส่งบุญ หน้า 9
หน้าที่ 9 / 94

สรุปเนื้อหา

การดูแลคนไข้แบ่งออกเป็น 2 ส่วนโดยส่วนแรกคือการดูแลรักษาโรคทางกาย ซึ่งควรมีแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถมาทำการดูแลรักษาอย่างเข้มงวด ขณะเดียวกันก็ต้องให้การดูแลด้านต่างๆ อย่างถูกต้อง เช่น การนอน การขับถ่าย และการดูแลส่วนบุคคลให้สะอาด ส่วนที่สองคือการดูแลสุขภาพจิต ช่วยให้คนไข้มีอารมณ์ดีและมีกำลังใจในการรักษา โดยต้องหลีกเลี่ยงการให้คนไข้ได้ยินเรื่องร้ายแรง รวมถึงการโน้มน้าวใจให้คนไข้นึกถึงบุญกุศลและการทำบุญ เช่น การทอดกฐินหรือการตักบาตร รวมถึงการชักชวนให้ทำบุญใหม่

หัวข้อประเด็น

-การดูแลคนไข้
-การรักษาทางกาย
-การรักษาทางใจ
-สุขภาพจิต
-การทำบุญ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

การดูแลคนไข้แบ่งเป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ 1.1.1 การดูแลรักษาโรคทางกาย จะต้องหาแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถอย่างดีที่สุดมา ดูแลรักษาให้เต็มที่ คนเฝ้าไข้จะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และพยาบาลอย่างเคร่งครัด ให้การดูแลด้านต่างๆ เป็นอย่างดี เช่น การนอน การขับถ่าย การดูแลเนื้อตัวให้สะอาด และดูแลเรื่อง อาหารให้เพียงพอ 1.1.2 การดูแลรักษาใจ จะต้องช่วยกันประคับประคองใจของคนไข้ให้ผ่องใสอยู่ตลอดเวลา ให้มีกำลังใจอดทนต่อทุกขเวทนาต่างๆ ไม่ท้อแท้หรือสิ้นหวังในชีวิต ด้วยวิธีการดังนี้ คือ ป้องกันอย่าให้ได้ยินเรื่องร้อนใจใด ๆ ไม่ว่าจะเรื่องทรัพย์สินเงินทอง เรื่องมรดก เรื่องข่าวสาร บ้านเมือง เรื่องทุกข์ของชาวบ้านหรือเรื่องที่ฟังแล้วชวนให้คนไข้รู้สึกแสลงใจหรือสลดหดหู ต้องป้องกันอย่างเต็มที่อย่าให้คนไข้ได้รับรู้ โน้มน้าวใจคนไข้ให้มีจิตใจแซ่อิ่มอยู่ในบุญ ด้วยการหมั่นเล่าถึงเรื่องราวบุญกุศลที่ผู้ป่วยได้เคย กระทำไว้ ทั้งเรื่อง ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า บุญบวชพระ การสร้างสาธารณะกุศลต่างๆ พยายามโน้มน้าวชักจูงให้คนไข้ได้สร้างบุญใหม่ ๆ ถ้าคนไข้ยังพอมีเรี่ยวแรง มีสติสัมปชัญญะ มีความสามารถที่จะทำบุญได้ ก็บอกเล่าข่าวบุญต่างๆ ชักชวนให้คนไข้ได้สร้างบุญใหม่อยู่เสมอ หรือพาตักบาตรยามเช้า แม้คนไข้จะไม่สามารถลุกมาใส่บาตรเองได้ ก็อาจจะนำข้าวปลาอาหารนั้นให้ คนไข้ได้จบอธิษฐาน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More