ธรรมะเป็นที่สบาย ส่งบุญ หน้า 14
หน้าที่ 14 / 94

สรุปเนื้อหา

การยังจิตของผู้ป่วยให้ผ่องใสและเสริมสร้างบุญกุศลเป็นสิ่งสำคัญ โดยการนำเสนอธรรมะผ่านปัจจัยต่างๆ เช่น โทรทัศน์ช่องธรรมะ ฟังเทปหรืออ่านหนังสือธรรมะ นอกจากนี้ยังสามารถนิมนต์พระสงฆ์มานำการสวดมนต์และประพฤติธรรมให้เกิดความสงบในจิตใจได้ เรื่องจากพระไตรปิฎกเกี่ยวกับมานพหนุ่ม มัฏฐกุณฑลี ที่มีอานิสงส์จากการเลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแม้ในขณะที่ใกล้ตายแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการสร้างบุญ โดยเฉพาะในช่วงสุดท้ายของชีวิต ซึ่งส่งผลให้วิญญาณไปสู่การเกิดในภพที่ดีขึ้น

หัวข้อประเด็น

-การยังจิตให้ผ่องใส
-การนำธรรมะสู่ผู้ป่วย
-อานิสงส์จากการสร้างบุญ
-การนับถือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
-พระไตรปิฎก

ข้อความต้นฉบับในหน้า

14 1.2.4 ธรรมะเป็นที่สบาย การยังจิตของผู้ป่วยให้ผ่องใส ตรีกระลึกนึกถึงแต่เรื่องบุญกุศลเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ดังนั้น ผู้ใกล้ชิด ควรหาธรรมะในรูปแบบต่างๆ มาให้ผู้ใกล้ละโลกได้ชมหรือได้ฟัง เช่น ดูโทรทัศน์ช่องธรรมะ (DMC) ฟังเทป ธรรมะหรืออ่านหนังสือธรรมะให้ฟัง อาจจะนิมนต์พระสงฆ์มานำอาราธนาศีล สวดสาธยายมนต์ และ รับสังฆทาน หรือนำนั่งสมาธิ (ในกรณีไม่สะดวก อาจเปิดเทปก็ได้) ควรให้สติแก่ผู้ใกล้ละโลกอยู่ตลอดเวลา ด้วยการภาวนาคำว่า “สัมมา อะระหัง” หรือ นึกถึงพระพุทธรูปไว้กลางกายเป็นพุทธานุสติอยู่เสมอ เรื่องเล่าจากพระไตรปิฎก : เกิดเป็นเทวดาเพราะจิตเลื่อมใสก่อนละสังขาร (จากพระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย / เล่มที่ 40 หน้า 42) การยังจิตให้เลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อนละโลกนั้นมีอานิสงส์มาก ดังเช่นเรื่องของมานพหนุ่ม ผู้หนึ่งที่ชื่อ มัฏฐกุณฑลี ซึ่งกำลังป่วยหนักเกินเยียวยา ขณะที่นอนรอความตายอยู่ที่ระเบียงหน้าบ้านก็มองเห็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีรัศมีเจิดจ้าเสด็จบิณฑบาตผ่านมา แต่เนื่องจากพราหมณ์ผู้เป็นพ่อของชายหนุ่มนี้ มีมิจฉาทิฐิและตระหนี่ จึงไม่เคยอนุญาตให้ลูกชายทำบุญทำทานหรือเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อฟังธรรม เลย จึงไม่ได้สั่งสมบุญเอาไว้แม้แต่น้อย แม้ในขณะก่อนตายก็ยังยกมือทั้งสองประนมไม่ไหวด้วยพิษไข้
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More