การสร้างบารมีในพระพุทธศาสนา แด่นักสร้างบารมี 2 หน้า 120
หน้าที่ 120 / 131

สรุปเนื้อหา

ข้อความนี้พูดถึงการสร้างบารมีผ่านการภาวนาและการทำจิตใจให้สงบ โดยเฉพาะการทำตามรอยของพระเวสสันดร ซึ่งนับว่าเป็นต้นแบบในการทำจิตให้ดีและหลุดพ้นจากกิเลส โดยยกตัวอย่างการบำเพ็ญบารมีและคุณธรรมที่ควรมีในตัวมนุษย์เพื่อประโยชน์สูงสุดในชีวิตและการบรรลุธรรม. การอยู่ในวัดมีจุดประสงค์เพื่อกำจัดนิสัยเสียและปลูกฝังนิสัยดี ๆ อาทิเช่น สัจจะ, ทมะ, ขันติ, และจาคะ เพื่อให้ผู้มาศึกษานำไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างมีคุณค่า

หัวข้อประเด็น

-การสร้างบารมี
-ภาวนา
-นิสัยดีๆ
-ฆราวาสธรรม
-การบรรลุธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แด่... สร้างบารมี ๒ ๑๒๐ ต่อมาเมื่อพระอินทร์ปลอมตัวมาขอ พระนางมัทรี ก็ตัดใจยกมเหสีให้อีกคน เพราะถ้า พระนาง ยังอยู่ด้วย ก็ต้องห่วงหน้าพะวงหลังอีก เช่นกัน น้องเอ๋ยจงไปกับพราหมณ์เฒ่าเถอะ เพราะ พ้นจากพี่แล้ว หาใครที่บารมีมากพอจะค้นหา ศูนย์กลางกาย ซึ่งเป็น ที่ตั้งถาวรของใจ เป็น ฐานทัพปราบกิเลสคงจะไม่มีอีก แล้ว ทั้งโลกนี้ ทั้ง ภพสามจะมีก็แต่พี่นี่แหละ คิดอย่าง นี้แล้วพระเวส สันดร ก็ตั้งใจทำภาวนาอยู่ในป่าต่อไป ละโลกจากพระเวสสันดรก็ไปบังเกิดใน สวรรค์ชั้นดุสิต แล้วลงมาเป็นพระสิทธัตถะราชกุมาร ตรัสรู้เป็นพระบรมครูของพวกเรา หัดตัดใจอย่าง พระเวสสันดรนะลูก ต่อไปภายหน้าจะไปทำอะไรก็ สําเร็จหมด การที่พวกเรามาอยู่วัด วัตถุประสงค์สำคัญ ก็คือมากำจัดนิสัยเสียๆ ของตัวเองให้หมดไป แล้ว เพาะนิสัยดีๆ ให้เกิดขึ้นมาแทน นิสัยดีๆ ๔ อย่าง คือ สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ นี้เรียกว่า “ฆราวาสธรรม” แต่ฆราวาสธรรมก็จำเป็นสำหรับคนเข้าวัดด้วย ไม่ ใช่เฉพาะคนที่อยู่ทางโลกเท่านั้น เราต้องปลูกฝัง
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More