การเป็นครูสอนศีลธรรม เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 3 หน้า 14
หน้าที่ 14 / 296

สรุปเนื้อหา

การฝึกฝนและอบรมตนเองมีความสำคัญต่อการเป็นครูสอนศีลธรรม ซึ่งต้องทำหน้าที่ในการอบรมคนในทิศ 5 และสร้างเครือข่ายคนดีในสังคม การที่จะเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เข้มแข็งนั้นอยู่ที่การปฏิบัติหน้าที่ในแต่ละทิศอย่างถูกต้อง โดยมีพระเป็นแบบอย่างในการสร้างความดีให้กับสังคม.

หัวข้อประเด็น

-การฝึกอบรมตนเอง
-หน้าที่ของครูสอนศีลธรรม
-การเผยแผ่พระพุทธศาสนา
-ทิศ 5 และบทบาทในสังคม
-ความสำคัญของการสร้างเครือข่ายคนดี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เมื่อเราฝึกทั้งหยาบและละเอียด คือ มีทั้งความรู้และปรับปรุง แก้ไขนิสัยตนเองได้ดีแล้ว การจะก้าวเข้าไปเป็นครูสอนศีลธรรม อย่าเพิ่งไปมองอะไรไกลเกินตัว การทำหน้าที่ของครูสอนศีลธรรม อย่างแท้จริงนั้น คือ การฝึกอบรมคนในทิศ 5 ให้เป็นคนดี เราเรียนนักธรรมมาแล้วว่า หน้าที่พระภิกษุโดยเบื้องต้นมี ๒ ประการ หน้าที่ข้อแรก คือ ฝึกฝนอบรมตนตามพระธรรมวินัยอย่าง เคร่งครัด หน้าที่ข้อที่สอง คือ สั่งสอนอบรมประชาชนในสังคมให้มีศีลธรรม พระพุทธองค์ทรงให้หลักสำคัญไว้แล้วว่า การเผยแผ่พระพุทธ ศาสนา คือ การเผยแผ่ผ่านทิศ ๖ พระภิกษุเรามีหน้าที่เป็นกัลยาณมิตร ต่อชาวโลก การที่โลกจะสงบสุขได้ พระเราต้องสอนให้แต่ละคนปฏิบัติ หน้าที่ในทิศ ๖ ให้สมบูรณ์ โดยมีพระเราเป็นต้นแบบศีลธรรม การที่พระพุทธศาสนาจะยืนหยัดอยู่ได้ ก็ขึ้นอยู่กับว่า ทิศ 5 ของ ชาวพุทธแต่ละคนมีความเข้มแข็งขนาดไหน คนที่จะต้องไปทำให้ ทิศ 5 ของชาวพุทธเข้มแข็ง ก็คือ คนที่อยู่ทิศเบื้องบน ซึ่งชาวโลก ยกย่องไว้ในฐานะเป็นครูสอนศีลธรรม การเรียนในห้องเรียนวัดความรู้โดยผ่านผลการสอบ แต่การ ทํางานในฐานะครูสอนศีลธรรม วัดความสําเร็จโดยผ่านการสร้าง เครือข่ายคนดี ในฐานะของครูสอนศีลธรรม เราจึงมองข้ามความสำคัญ (๑๔)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More