สมถะและวิปัสสนาในพระธรรมกาย เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร 3 หน้า 247
หน้าที่ 247 / 296

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงพระธรรมกาย โดยเน้นความสำคัญของสมถะและวิปัสสนา ที่ต้องมีการทำงานร่วมกัน เหมือนบันไดที่ต้องมีขั้นตอนในการฝึกสมาธิ ใจที่หยุดนิ่ง หมายถึงการไม่คิดเตลิดไปในเรื่องต่าง ๆ ผ่านวิธีการที่หลากหลายในการฝึกใจอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งสามารถพบได้ในวิสุทธิมรรค โดยมีหลักการต่าง ๆ ที่ช่วยต่อยอดในทางปฏิบัติ.

หัวข้อประเด็น

-สมถะ
-วิปัสสนา
-พระธรรมกาย
-การฝึกใจ
-การหยุดนิ่ง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

៨១ สมถวิปัสสนา มีคำถามว่า การปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกายนี้เป็นสมถะหรือวิปัสสนา ที่จริงแล้วสมถะกับวิปัสสนานี่ ขาดอันใดอันหนึ่งไม่ได้เลย เหมือนบันได มันต้องมีขั้น มีตอนของมันไป ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน สมถะ แปลว่า หยุด นิ่ง สงบ ระงับ หมายถึง ใจที่แวบไปแวบมา คิดไปในเรื่องราวต่าง ๆ เราดึงมาหยุดให้เป็นหนึ่ง เป็นเอกัคตา มีอารมณ์เดียว หยุดนิ่ง ๆ อย่างนี้เรียกว่า สมถะ วิธีที่จะฝึกใจให้หยุดนิ่ง เพื่อให้เข้าถึงคำว่า สมถะ มีเยอะแยะ ที่รวบรวมไว้ในวิสุทธิมรรคก็ ๔๐ วิธี กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑๐ อนุสสติ ๑๐ อย่างนี้เป็นต้น แต่จริง ๆ มีนอกเหนือจากนี้ เยอะมาก คือ ทําอย่างไรก็ได้ให้ใจหยุด พอใจหยุดนั่นแหละ เรียกว่า สมถะ ๑๖๗
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More