ข้อควรระวังในการฝึกสมาธิ เมื่อไม่รู้จะอ่านอะไร หน้า 139
หน้าที่ 139 / 147

สรุปเนื้อหา

บทความนี้แนะนำข้อควรระวังในการฝึกสมาธิ เพื่อให้ผู้ฝึกสามารถเข้าถึงนิมิตอย่างมีประสิทธิภาพได้ โดยไม่ใช้กำลังหรือความกังวล โดยเน้นการตั้งสติและการประคองจิตที่ศูนย์กลางกายตลอดเวลา การเห็นนิมิตต้องมีความสงบและความละเอียดอ่อนในการฝึกฝน ทำให้ผู้ปฏิบัติไม่ต้องเร่งรัดเวลา เพราะนิมิตจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติเมื่อถึงเวลา การรักษาความตั้งใจในศูนย์กลางกายจะช่วยให้การฝึกมีความสำเร็จขึ้นได้ดีขึ้นโดยไม่ต้องกังวลเรื่องการกำหนดลมหายใจเข้าออก.

หัวข้อประเด็น

-วิธีการฝึกสมาธิ
-ความสำคัญของการตั้งสติ
-นิมิตและการเกิดขึ้นตามธรรมชาติ
-การรักษาจุดศูนย์กลางกาย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เมื่อไม่รู้จักพอปร ข้อควรระวัง ๑. อย่าใช้กำลัง คือ ไม่ใช้กำลังใด ๆ ทั้งสิ้น เช่น ไม่บีบ กล้ามเนื้อตา เพื่อจะให้เห็นนิมิตเร็ว ๆ ไม่เกร็งแขน ไม่เกร็ง กล้ามเนื้อหน้าท้อง ไม่เกร็งตัว ฯลฯ เพราะการใช้กำลังตรงส่วน ใดส่วนหนึ่งของร่างกายก็ตาม จะทำให้จิตเคลื่อนจากศูนย์กลางกาย ไปสู่จุดนั้น ๒. อย่าอยากเห็น คือ ทำใจให้เป็นกลาง ประคองสติมิให้ เผลอจากบริกรรมภาวนาและบริกรรมนิมิต ส่วนจะเห็นนิมิตเมื่อ ใดนั้น อย่ากังวล ถ้าถึงเวลาแล้วย่อมเห็นเอง การบังเกิดของ ดวงนิมิตนั้น อุปมาเสมือนการขึ้น และตกของดวงอาทิตย์ เรา ไม่อาจจะเร่งเวลาได้ ๓. อย่ากังวลถึงการกำหนดลมหายใจเข้าออกเพราะการ ฝึกสมาธิเจริญภาวนาวิชชาธรรมกาย อาศัยการนิกอาโลกกสิณ คือ กสิณความสว่างเป็นบาทเบื้องต้น เมื่อเกิดนิมิตเป็นดวงสว่าง แล้วค่อยเจริญวิปัสสนาในภายหลัง จึงไม่มีความจําเป็นต้อง กําหนดลมหายใจเข้าออกแต่ประการใด ๔. เมื่อเลิกจากนั่งสมาธิแล้ว ให้ตั้งใจไว้ที่ศูนย์กลางกาย ที่เดียว ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม เช่น ยืน เดิน นอน หรือ นั่งก็ดี อย่าย้ายฐานที่ตั้งจิตไปไว้ที่อื่นเป็นอันขาด ให้ตั้งใจบริกรรม ภาวนาพร้อมกับนึกถึงบริกรรมนิมิตเป็นดวงแก้วใสควบคู่กัน ตลอดไป ๑๘๐
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More