บทบาทและความรับผิดชอบของครูในสังคม วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน กันยายน พ.ศ.2553 หน้า 69
หน้าที่ 69 / 99

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายถึงความสำคัญของครูในการสร้างสังคมที่ดี โดยเน้นการฝึกฝนผู้เรียนให้มีศีลธรรมที่ดี โดยมีความรับผิดชอบทั้งในด้านศีลธรรมส่วนตัว สังคม เศรษฐกิจ และการสร้างคนดี รวมถึงการร่วมมือจากสังคมในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตและสังคมโดยรวม โดยครูที่ดีจะต้องสามารถพัฒนาตนเองและแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีการเน้นถึงการต้องเริ่มการปลูกฝังคุณธรรมตั้งแต่เด็ก เพื่อให้สังคมมีผู้ที่มีจริยธรรมในอนาคต

หัวข้อประเด็น

-บทบาทของครู
-คุณธรรมในสังคม
-การศึกษาและศีลธรรม
-ความรับผิดชอบของครู

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เปิดนรกให้ตัวเองและมหาชนได้ คน ๆ เดียวสามารถก่อให้เกิดสงครามโลก สามารถสร้างลัทธิมหาประลัย ขึ้นมาได้ สร้างลัทธิการปกครองที่ทำให้เกิดบาปแก่คนทั้งโลกได้ คนที่จะแก้ไขพวกนี้ได้ มีแต่ครูเท่านั้น ผิดจากครูจะให้ใครมาแก้ แต่การจะ แก้ไขให้ได้ถือเป็นเรื่องหนัก ครูดีไม่จำเป็นต้องจบวิชาการทางโลกสูง ไม่จำเป็นต้องรู้วิชาการทางธรรมมากมาย ถึงขั้นท่องตำราศีลธรรมได้เป็นเล่ม ๆ เพราะวิชาการในโลกนี้ อายุเป็นพันปีก็เรียนไม่จบ แต่อย่างน้อยที่สุด ขอให้ท่านมีความประพฤติทางกาย วาจา ใจที่ดีจนเป็นนิสัย และใน ขั้นต้นมนุษย์ที่สมบูรณ์ก็ไม่ได้ต้องการความรู้ทางธรรมที่มากมาย เพราะขั้นต้นของความเป็นมนุษย์ คือ ๑. คุมกาย วาจา ด้วยการไม่ทำกรรมกิเลส ๔ ให้เป็นนิสัยตลอดชีวิต ซึ่งต้องเริ่มฝึก ตั้งแต่เด็ก คนที่มีนิสัยเลว มาแล้ว ถ้าไม่มีครูเคี่ยวเข็ญจริงๆ ยากจะแก้ไขได้ ถ้าท่าน ผู้ใดทำได้ และไปเคี่ยวเข็ญให้คนอื่นทำได้ นี่คือครูตัวจริง ๒. คุมใจให้ได้ โดยไม่ลำเอียง เพราะเราต้องอยู่ร่วมกับสังคม อย่าลำเอียง ถ้าลำเอียง อยู่ไม่ได้ คนที่ได้รับการฝึกแต่เล็ก แนะนำไม่ยาก แต่คนที่เสียแล้วแก้ยาก คนที่แก้ได้ นั่นคือ ครู ๓. ทรัพยากรในโลกนี้มีจำกัด ต้องปันกันกินปันกันใช้ มิฉะนั้นจะไม่พอ ถมเท่าไรก็ ไม่เต็ม และต้องไม่แตะต้องอบายมุข ซึ่งต้องใช้สติปัญญาและกำลังใจสูง ใครที่ฝึกตัวเอง แล้ว และแก้ไขคนอื่นได้อย่างนี้ นั่นคือ ครู ๔. ลำพังครูคนเดียวจะมาสร้าง ๓ อย่างนี้ หืดขึ้นคอ ต้องอาศัยความร่วมมือจาก สังคมที่จะมาสร้าง ๓ อย่างนี้ให้เกิดขึ้น จึงต้องมาเริ่มที่ทิศ 5 เพราะฉะนั้น มาตรฐานของครูดี จึงเกิดขึ้น ครูดี คือ ครูที่มีความรับผิดชอบทั้ง ๔ ด้าน ๑. รับผิดชอบต่อศีลธรรมของตนเอง ๒. รับผิดชอบต่อศีลธรรมของสังคม ๓. รับผิดชอบต่อศีลธรรมทางเศรษฐกิจ ๔. รับผิดชอบต่อการสร้างคนดี เพราะว่าครูดี คือ ครูที่ฝึกตัวเองมาได้ แก้ไขคนอื่นได้ และสอนคนอื่นให้ไปแก้ไข คนอื่นให้ดีได้ จึงต้องมีความรับผิดชอบทั้ง ๔ ด้านนี้ เพราะฉะนั้น ศีลของครูเองนอกจากต้องเยี่ยมแล้ว ก็ต้องไปตามคนทั้งสังคมมา ช่วยกันแก้ไขคนเลวให้เป็นคนดีด้วย จึงจะสมกับที่โบราณกล่าวไว้ว่า แพทย์รักษาคนไข้ให้หายไข้ แต่ว่าแพทย์ทำให้คนตายฟื้นไม่ได้ แต่ครูที่เป็นครู
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More