การให้ทานในชีวิตและการสร้างบารมี วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน กรกฏาคม พ.ศ.2548 หน้า 31
หน้าที่ 31 / 96

สรุปเนื้อหา

การให้ทานเป็นแนวทางของบัณฑิตในอดีตที่เสนอว่าการให้ทานมีความสำคัญต่อชีวิต และทำให้ชีวิตไม่ได้ลอยเคว้งคว้างอยู่ในสังสารวัฏ การให้ทานนั้นเป็นสิ่งจำเป็นทั้งสำหรับคฤหัสถ์และบรรพชิต การสร้างบารมีจะเป็นเหตุผลสำคัญที่ช่วยให้ชีวิตไม่ตกต่ำในอบายภูมิและมีโอกาสเข้าถึงสุขในสุคติ การเป็นคนตระหนี่จะทำให้ไม่สามารถก้าวไปสู่นิพพานได้ การทำทานควรควบคู่กับการดำเนินชีวิตและธุรกิจ เช่นพราหมณ์ผู้ที่ใช้เงินสร้างวัดให้ถือว่าบารมีจะนำไปสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน

หัวข้อประเด็น

-การให้ทาน
-ความสำคัญของการสร้างบารมี
-การไม่ตระหนี่
-การดำเนินชีวิตควบคู่กับการทำบุญ
-ผลกระทบของการให้ทานต่อชีวิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

มีธรรมภาษิตในอรรถกถาอกิตติชาดก ความว่า “ธรรมดาว่าการให้ทานนี้ เป็นประเพณี ของบัณฑิตทั้งหลายแต่ปางก่อนอย่างแท้จริง การให้ทานนั้น ไม่ว่าจะเป็นคฤหัสถ์ หรือเป็น บรรพชิตก็ตาม ก็ควรให้ทั้งนั้น” ชีวิตที่ปราศจากการให้ทานนั้น ไม่สามารถ ไปสู่จุดหมายปลายทางได้ เหมือนเรือที่น้ำมันหมด ทั้งยังไม่มีใบเรือ ไม่มีหางเสือ ต้องจอดลอยลำ อยู่กลางทะเล ฉันใด ชีวิตของผู้ที่ไม่ได้ให้ทาน ย่อมเหมือนลอยเคว้งคว้างอยู่ในสังสารวัฏ ฉันนั้น ชีวิตของผู้ไม่ให้ทาน ย่อมไม่สามารถก้าวขึ้นสู่ บันไดแห่งความสําเร็จ เหมือนนกที่ไม่มีขนปีก ย่อมบินขึ้นสู่ที่สูงไม่ได้ บัณฑิตในกาลก่อนจึงหมั่น แนะนำพร่ำสอนลูกหลาน ญาติมิตร พวกพ้อง บริวารว่าอย่าเป็นคนตระหนี่ถี่เหนียว คนตระหนี่ ไปเทวโลกไม่ได้ และความตระหนี่ยังเป็นศัตรูที่ ขัดขวางหนทางแห่งการสร้างบารมีอีกด้วย จะ เป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิตก็ควรทำทานทั้งนั้น การเดินทางไกลในสังสารวัฏ จำเป็นต้อง มีเสบียงในการเดินทางคือบุญกุศล ซึ่งจะเป็นเหตุ ทำให้เราไม่พลัดตกไปในอบายภูมิ แต่กลับจะได้ เวียนวนอยู่แต่ในสุคติโลกสวรรค์ ได้มีโอกาสชำระ กาย วาจา ใจ ให้สะอาดบริสุทธิ์มากยิ่งขึ้น จนกระทั่งหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ ดังนั้น การสั่งสมบุญจึงเป็นสิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไปกับ การทำธุรกิจ เหมือนพราหมณ์ผู้ใจบุญได้รวบรวม เงินที่หามาได้ตลอดชีวิตเพื่อนำไปซื้อที่ดินสร้าง วัดถวายแด่ภิกษุสงฆ์ บุญนั้นได้ส่งผลให้ท่านได้ เสวยสุขในสุคติสวรรค์นานถึง ๓ หมื่นกัป ภพชาติ สุดท้ายได้เป็นพระอรหันต์ผู้เลิศทางด้านแตกฉาน ในพระวินัย เรื่องของท่านมีอยู่ว่า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More