หน้าที่ของครูและการศึกษาที่ดี วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน กรกฏาคม พ.ศ.2548 หน้า 48
หน้าที่ 48 / 96

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงหน้าที่สำคัญของครูในการสอนและอบรมลูกศิษย์เพื่อให้เป็นคนดีและมีความรู้ด้านศิลปวิทยา โดยชี้ให้เห็นถึงบทบาทของพ่อแม่ในการอบรมเด็กด้วยว่าเป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน รวมถึงแนะนำการสร้างนิสัยดีในเด็กและความรับผิดชอบของครูในการสอนเพื่อพัฒนาคุณธรรมในอนาคต หากลูกย่อมได้รับการสอนที่เหมาะสมตั้งแต่ต้นจะมีพัฒนาการที่ดีขึ้นในด้านความรู้และคุณธรรม

หัวข้อประเด็น

-หน้าที่ของครู
-การอบรมศิษย์
-ความสำคัญของครู
-การเรียนรู้ศิลปวิทยา
-คุณธรรมในเด็ก

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๔. ปรนนิบัติรับใช้ ๕. เรียนศิลปวิทยาด้วยความเคารพ หน้าที่ทั้ง ๕ ประการนี้ ลูกศิษย์ไม่รู้หรอก หรือถึงรู้ก็รู้ไม่หมด ถ้าพ่อแม่ไม่ได้สอนเอาไว้ก่อน ก็เป็นเรื่องหนักของครู แต่ถึงอย่างไรครูก็ต้องสอน ไม่อย่างนั้นเดี๋ยวจะได้ลูกศิษย์ที่เหลือขอกัน เต็มบ้านเต็มเมือง เพราะเมื่อตอนเป็นลูกศิษย์ครูไม่ได้สอนให้ดี พอลูกศิษย์มีลูก เขาก็เอาลูกมาฝากให้ครูสอนอีก ซึ่งลูกของเขาก็คงจะอาการหนักกว่าพ่อ หนัก กว่าแม่แน่นอน หน้าที่ของครูที่มีต่อศิษย์ คือ ๑. แนะนำให้เป็นคนดี ถ้าคุณพ่อคุณแม่อบรมสั่งสอนให้ลูกเป็นคน ดีมาจากบ้านแล้ว คุณครูก็เบาแรง หน้าที่นี้ก็จะ กลายเป็นเรื่องของฝึกมารยาท ในการอยู่ร่วมกัน กับเพื่อนๆ จำนวนมาก เพราะอยู่ที่บ้านเคยมีแต่พี่ๆ น้องๆ ๒ - ๓ คนเท่านั้น เพราะฉะนั้นถ้าเด็กนิสัยไม่ดี ศีลธรรมย่ำแย่ จะโทษว่าเป็นความผิดครูเพียงลำพังก็ไม่ได้ ถ้า พ่อแม่ไม่ใส่ใจ แม้ครูจะสอนดีอย่างไร พอกลับไป ถึงบ้าน แม่บอกว่า “ลูกเอ๊ย มาก็ดีแล้ว ช่วยถือไพ่ ให้แม่ที แม่จะเข้าห้องน้ำก่อน” หรือพ่อบอกว่า “ลูกเอ๊ยไปซื้อเหล้ากับบุหรี่ ให้พ่อที เงินที่เหลือก็เป็นค่าขนมของเอ็งก็แล้วกัน” แค่นี้ก็แย่แล้ว ๒. ให้เรียนดี ๓. บอกความรู้ในศิลปวิทยาทุกอย่างด้วย ดี ไม่หวงวิชา ๔. ยกย่องให้ปรากฏในหมู่เพื่อนฝูง ๕. ทำความป้องกันในทิศทั้งหลาย คือ ชี้โทษซึ่งแฝงอยู่ในวิทยาการที่สอน ความรู้ทางด้านวิชาการ หากเกิดแก่คนพาล หรือคนที่มีศีลธรรมไม่พอ ย่อมนําความ ๔๖
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More