ข้อความต้นฉบับในหน้า
ยังต้องอาศัยเนื้อหาที่อยู่ในคัมภีร์ชาดกอื่น ๆ ดังที่กล่าวแล้วข้างต้นมาประกอบด้วย
ชาดกที่ปรากฏในภาพสลักหินที่สลักภารหตุ
นักวิชาการส่วนใหญ่งอมรับภาพสลักหิน “สัญลักษณ์หตุ” ว่าเป็นภาพสลักหินเล่าเรื่องชาดกที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังคงหลงเหลือมาถึงปัจจุบัน ซึ่งองค์ศพะสลักได้เริ่มต้นสร้างขึ้นในปลายราวคริสต์ศตวรรษมา (Maurya: B.C. 322-185) และสร้างต่อเติมให้สมบูรณ์ในสมัยรัชกาลศุภคะ (Sūnga: B.C. 185-75) สำหรับความเก่าแก่ของภาพสลักหินเล่าเรื่องชาดกนี้ นักวิชาการที่มีความคิดเห็นต่างกันออกไปบาง เช่น A. Cunningham เห็นว่าภาพสลักหินเล่าเรื่องชาดกถูกสร้างขึ้นในช่วง B.C. 250-150 ในขณะที่ E. Hultzsch เห็นว่าถูกสร้างขึ้นในช่วง B.C. 2-1c สำหรับ A. Foucher เห็นว่าถูกสร้างขึ้นในช่วง B.C. 2c และ G. Bühler เห็นว่าถูกสร้างขึ้นในช่วง B.C. 2 - A.D.1c แต่ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าอยู่รวบพุทธศตวรรษที่ 3 หรือ 2 ศตวรรษก่อนคริสต์ศักราช
เมื่อพิจารณาถึงโครงสร้างของชาดกที่ปรากฏในอรรถกถาดังกล่าวประกอบด้วย ก. เรื่องราวในปัจจุบัน ข. เรื่องราวในอดีต (รวมถึงกาดชาดกที่นำมาจากพระไตรปิฎก) ค. อรรถาธิบายขยายศัพท์และ ง. ประชุมชาดก ดังกล่าวไว้แล้วในข้างต้น พบว่าภาพสลักหินนั้นมีเพียง ข. เรื่องราวในอดีตเท่านั้นไม่พบเรื่องราวในส่วนอื่นซึ่งภาพสลักหินเล่าเรื่องชาดกที่ปรากฏอยู่ในศุภราชุทธน เมื่อมาจัดกลุ่มสามารถแบ่งได้ดังนี้
14 Sugimoto (1960:149)
15 Hikata (1978b: 1-7)