ข้อความต้นฉบับในหน้า
ธรรมาธร
วิเคราะห์วิพากษ์ทางพระพุทธศาสนา ฉบับรวมที่ 3 ปี 2559
คาถาชาดก → ภาพสลักหินเล่าเรื่องชาดก
โบราณอรรถกถาชาดก
บทสรุปและแนวทางในการวิจัยต่อไป
จากการศึกษาความสัมพันธ์ของชาดกที่ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎก (คาถาชาดก) และอรรถกถา กับชาดกที่ปรากฏในภาพสลักหินที่สลุปภาภุติ ทำให้เราพบว่า
1. ภาพสลักหินเล่าเรื่องชาดกส่วนใหญ่นั้นได้กล่าว “คาถาชาดก” เป็นบรรทัดฐานในการสร้าง โดยจะปรากฏเรื่องวาในส่วนที่เป็น “เรื่องาวในอดีติ” (atitavatthu) ซึ่งสอดคล้องกับ “คาถาชาดก” ที่จะมีเพียงเรื่องวาในอดีดีเท่านั้น
(อิงอรรถต่อจากหน้า 191)
พุทธกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อหาในอรรถกถาชาดกและอรรถกถา ธรรมบท
ได้มีการพบข้อความการอ้างอิงจาก “ไตรปิฎกคาถาชาดก” ในอรรถกถา ภาษาบาลีที่ใช้ในปัจจุบันอยู่หลายแห่ง แมในอรรถกถาชาดตนเองก็ตามก็มีข้อความอ้างอิงดังกล่าวอยู่ด้วย อาทิ Yam pana Jatakathakathāya “tadā sattahajato Rāhulakumāro hoti” vuttām tam sessatthakathāsu n’ atthi. Tasmā imam eva gahetabbam. (JA I: 62) ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการอ้างอิง “อรรถกถาชาดก” ใน “อรรถกถาอรรถกถา” กันเอง อีกทั้งยังเป็นข้อความที่ปฏิเสธกับข้อความที่อ้างอิงมา ด้วยเหตุจึงเป็นการยืนยันถึงความมีอยู่ “โบราณอรรถกถาชาดก” ที่เป็นอรรถกถาชั้นเก่า (Mori 1984: 192-193)