ข้อความต้นฉบับในหน้า
ธรรมอรรถ
วรรณศาสตร์วาททางพระพุทธศาสนา ฉบับรวมที่ 3 ปี 2559
ในกลุ่มที่ 1 นี้นอกจากกรณีศึกษา ของ A.la.1 ดังกล่าว ยังปรากฏภาพสลักหินอื่น ๆ เช่น ภาพสลักหินที่มีชื่อจากบอกว่าเป็นชาดก A.la.2 Nāga-J (J 267 Kakkata-J), A.la.5 Latuva-J (J 357 Latu-ki-ka-J), A.la.12 Uda-J (J 400 Dabbhapuppha-J), A.la.13 Secha-J (J 174 Dübhiyamakkata-J), A.la.16 Maghādeviya-J (J 9 Makhādeva-J) และภาพสลักหินที่ไม่มีชื่อจากแต่เป็นเรื่องราวของ ชาดก B.l.1 (J 206 Kurungamiga-J), B.l.6 (J 324 Cammasātaka-J), B.l.7 (J 253 Maṇikanṭha-J), B.l.11 (J 372 Migapotaka-J) เป็นต้น ที่อาศัยเพียง “คาถาชาดก” ก็เพียงพอต่อการอภิปรายเรื่องราวในภาพสลักหิน
เมื่อพิจารณาถึงลำดับการดำเนินแล้วจะพบว่ากรณีนี้ก็อาจว่าเป็นเรื่องปกติที่กาถาชาดกซึ่งอยู่ในส่วนของพระไตรปิฎกย่อมมีความเก่าแก่ มากกว่าภาพสลักหินที่ถูกสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 3 หรือ 2 ศตวรรษก่อนคริสต์กาล ดังนั้นเมื่อมีการเริ่มต้นสร้างภาพสลักหินจึงอาศัยเรื่องราวจากคาถาชาดกเป็นบรรทัดฐานในการสร้าง
คาถาชาดก → ภาพสลักหินเล่าเรื่องชาดก
(เชิงอรรถต่อจากหน้า 185)
131. Samāgatā jānapadā negamā ca samāgatā: migā dhānāni khādanti, tam devo paṭiseDhatu ‘ti.
132. Kāmaṃ janapado māsi, raṭṭhāñ cāpi vinassatu, na tv-evahaṃ rūruṁ dubbhe datvā abhayaḍakkiṇam.
133. Mā me janapado āsi, raṭṭhāñ cāpi vinassatu, na tv-eva hamgira jassa varam datvā musā bhane ti.