ข้อความต้นฉบับในหน้า
ธรรมวาร วารสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา
ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 (ฉบับรวมเล่ม 12) ปี 2564
แต่ผมก็ยังมีข้อสงสัยอยู่ข้อหนึ่ง เมื่อ "กรรม" เป็นสิ่งที่ทำให้เราต้อง
เวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ ตามที่พระศากยมุนีพุทธเจ้ารั้ชไว้
นั่นหมายความว่า "คุกคาม" หรือ "การทำความดี" ก็เป็น "กรรม" ไหมครับ ? ผมมีความเข้าใจมาตลอดว่า คำว่า "กรรม" มีความหมาย
ในทาง "อดีต" แต่เพียงฝ่ายเดียว
อาจารย์: ได้เป็นเช่นนั้น คำว่า "กรรม" น่าวาจะเป็นฝ่าย "กุศล"
หรือ "อกุศล" กันเป็น "กรรม" ด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งเป็นผลผลักดันให้
เราต้องเวียนเกิดเวียนตายต่อไปในสังสารวัฏ โดยที่ "อกุศลกรรม" มีพฺลเป็น "ความทุกข์" และ "กุศลกรรม" มีพฺลเป็น "ความสุข" ซึ่งเรื่องนี้ดูจะเข้าใจยากลำบากหน่อย คือ เวลเราทำความดีโดยตั้งใจว่า "เราอยากจะทำสิ่งนี้เพื่อผู้อื่น" หรือ "เราได้ทำสิ่งดี ๆ เช่นนี้" แล้วลงมือทำความดีนั้น ๆ นั่นถือว่า เอาใจเชื่อมต่อกับเรื่องของ "กรรม" เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
นักศึกษา: แต่จะว่าไปแล้ว ในบางครั้งเราจะทำความดีอะไรบางอย่าง แม้จะไม่ได้มีความตั้งใจในการกระทำนัน ๆ ก็ตาม แต่ใน
22 ผู้แปล: 业 (gô) เป็นคำแปลของคำว่า "กรรม" ในภาษาสันสกฤตหมายถึง "การกระทำ" หรือ "กิจกรรม" (อ้างอิงจากเชิงอรรถในบทที่ 1 หน้า 11)
23 ผู้แปล: เกี่ยวกับความเข้าใจในเรื่องนี้ มักจะมีประโยคหนึ่งที่เป็นคำพูดติดปากของชาวญี่ปุ่น ในกรรมที่พูดถึงคนที่ต้องรับผลจากการทำความผิดของตนที่เคยไว้ว่า 自業自得 (jigô jitoku) ซึ่งทำนองภาษาไทยว่า "สมควรแก่กรรมแล้ว" แต่บางโอกาสตาม คำว่า 自業自得 โดยบรษัทพ์ แปลว่า "ตนเองกระทำสิ่งใดไว้ ตนเองย่อมได้รับ [ผลจากการกระทำของนั่น]" จึงไม่ใด้มีความหมายในด้านบวกหรือด้านลบ เพียงแต่การใช้ประโยคดังกล่าวในปัจจุบันในเชิงไปในทางลบ (อกุศลกรรม) จึงไม่น่าแปลกใจที่ชาวญี่ปุ่นจะมีความเข้าใจในเรื่องความหมายของคำว่า 業 (กรรม) ว่าสื่อความหมายไปในทางลบ