ข้อความต้นฉบับในหน้า
ผิดใหม..ที่ไม่เดินธุดงค์ในป่า ?
“ตรงนี้ได้ความรู้จากท่านเจ้าอาวาสวัด
ราชโอรสาราม พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเต
โช) ซึ่งท่านเป็นถึงพระมหาเถรานุเถระผู้ทรงภูมิรู้
ภูมิธรรม ในระดับ ป.ธ.๙ และเป็นราชบัณฑิต ซึ่งท่าน
ได้เมตตาอธิบายไว้ชัดว่า การถือปฏิบัติธุดงค์นั้น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ทั้งหมด
๑๓ ข้อ ซึ่งใน ๑๓ ข้อ ก็มีเพียงข้อเดียวเท่านั้น
ที่กำหนดว่าต้องอยู่ป่า ส่วนอีก ๑๒ ข้อนั้น
พระภิกษุผู้ถือธุดงควัตรจะอยู่ที่ไหนก็ได้ ไปที่ไหน
ก็ได้ คืออยู่กับที่ก็ได้ เดินก็ได้ เข้าเมืองก็ได้...
การเดินธุดงค์ครั้งนี้
ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าลำบากมาก..
ทำไมดีใจที่พระลูกชายเดิน ?
“คำถามตรงนี้...ทำให้ย้อนนึกถึงตอนที่
ลูกชายอายุ ๗-๘ ขวบ เราตัดสินใจส่งลูกไปเรียน
ที่อังกฤษ ทั้งที่หลายคนก็ทัดทานว่า ลูกยังเด็กไป
เราเป็นแม่ใจร้ายที่ไม่ห่วงลูก แต่แท้จริงแล้ว เพราะรัก
และเป็นห่วงลูกมากต่างหากถึงต้องใจแข็งทำ
อยู่ได้ไหม” ซึ่งลูกก็ตอบว่า “อยู่ได้” แต่สักครู่เขาก็
ตาแดงน้ำตาคลอเบ้าเลย จนเราถามว่า "ร้องไห้
ทำไม” เขาก็เข้มแข็งนะ บอกเราว่า “ผงเข้าตา” แต่
ความรู้สึกของแม่ที่เห็นลูกร้องไห้ต่อหน้าและก็
ต้องจากกันตอนนั้น เราต้องฝืนเป็นที่สุดเลย
พยายามข่มใจจากลูกมา เพราะเราอยากให้สิ่งที่ดี
ที่สุดกับคนที่เรารักที่สุด
“อีกทั้งโรงเรียนที่ประเทศอังกฤษในสมัยก่อน
ไม่เหมือนโรงเรียนอังกฤษในสมัยนี้นะ เพราะเมื่อ
ไปหาลูก หรือไม่อนุญาตให้เยี่ยมลูกในช่วงแรก ๆ
เลย ยกเว้นปิดเทอม เพราะเป็นช่วงที่เด็กกำลัง
ปรับตัว ถ้าโทร.ไปหรือให้เด็กพบผู้ปกครอง เด็กก็
อย่างนั้น เนื่องจากเราอยากให้สิ่งที่ดีที่สุดกับลูก ส่งลูกเข้าเรียนแล้ว อาจารย์เขาจะไม่ให้โทรศัพท์
คนเดียวของเรา เนื่องจากอยากให้ลูกเก่งภาษา
อังกฤษให้เหมือนเจ้าของภาษา และที่สำคัญด้วย
ความที่ลูกชายเราเกิดในตระกูลที่มีฐานะ มีชื่อ
เสียง มีความพร้อมในทุกด้าน มีแต่คนห้อมล้อม
เอาอกเอาใจทำโน่นทำนี่ให้ตลอดเวลา อีกทั้งเรา
กับลูกก็อยู่ติดกันอย่างกับปาท่องโก๋ ด้วยเหตุนี้ จึง
กลัวว่า เมื่อลูกโตขึ้นจะทำอะไรไม่เป็น
“ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ผู้เป็นแม่อย่างเราต้อง
ฝืนใจเป็นอย่างมาก โดยพาลูกบินไปอังกฤษ ชวน
เขาไปเที่ยวและก็ถามเขาว่า "ถ้ามาให้อยู่ที่นี่จะ
จะร้องไห้ขอกลับบ้าน และถ้าเราใจอ่อน ก็จะไม่
ได้อะไรกันทั้งเด็กและผู้ปกครอง
“ตอนนั้นยอมรับว่าคิดถึงลูกที่สุดเลย บางที
ต้องไปยืนน้ำตาคลอ เกาะรั้วโรงเรียนยืนมองลูก
อยู่ห่าง ๆ แต่สุดท้ายลูกก็เรียนจบ คว้าปริญญา
ตรีสาขา Economics and Management จาก
Royal Holloway, University of London และ
๖๑