การภาวนา สัมมาอะระหัง วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน พฤษภาคม พ.ศ.2555 หน้า 120
หน้าที่ 120 / 144

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอความหมายลึกซึ้งของการภาวนา สัมมาอะระหัง ซึ่งประกอบด้วย ๕ อักษรสำคัญที่บอกเล่าเกี่ยวกับพระพุทธคุณและการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะในเวลาคับขัน ท่านโบราณาจารย์แนะนำให้ภาวนาเพื่อเป็นเครื่องรักษาและป้องกันอันตรายจากศัตรู ทั้งยังช่วยเปลี่ยนคนใจแข็งให้เป็นเพื่อนที่ดีและอ่อนโยนมากขึ้น การเข้าใจบทคาถานี้จะนำไปสู่ความสุขและความสมหวังในชีวิต.

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของสัมมาอะระหัง
-บทบาทของพระพุทธคุณ
-วิธีการภาวนา
-การเปลี่ยนแปลงจิตใจ
-การใช้คาถาในสถานการณ์คับขัน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๑๑๘ บาลีน่ารู้ เรื่อง : ธรรมรักษ์ ochrym สัมม สัมป สัมมาอะระหัง ตอน : สัม, มา, บทสัมมาอะระหังนี้ โบราณาจารย์สมัยก่อนท่านแยกพรรณนาพระพุทธคุณ ทีละอักษร ในบทภาวนานี้มี ๕ อักษร คือ ส้ม, มา, อะ ระ หัง แต่ละอักขระได้ ให้ความหมายที่ลึกซึ้งยิ่งนัก (สัม) สงฺขตาสงฺขต ธมฺเม สมมา เทเสติ ปาณิน สํสารสฺส วิฆาเฏติ ข้าพเจ้าขอนมัสการ..... สัม สมฺพุทฺธ์ปิ นมามิห์ พระพุทธองค์ผู้ทรงแสดงสังขตธรรมและอสังขตธรรมโดยชอบแก่สัตว์ทั้งหลาย พระพุทธองค์ผู้ทรงทำลายการเวียนเกิดเวียนตายได้ พระพุทธองค์ผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง พระคาถาบทนี้ท่านบอกวิธีใช้ไว้ว่า ให้ภาวนาก่อนจะเข้าสู่สงคราม แล้วจะหา ผู้ทำร้ายมิได้ ศัสตราวุธ ปืนผาหน้าไม้ทำอันตรายไม่ได้ นอกจากพ้นภัยจากอริราช ศัตรูแล้ว ยังจะประสบความสวัสดีมีชัยยิ่ง ๆ ขึ้นไป ๆ ระหัง ะระหง ะระหัง อะระห (มา) “มาตาว มานปาลิเต มานสเต ปมททิ โย มานฆาต นมามิห มานิโต เทวสงเมหิ ข้าพเจ้าขอนมัสการ... พระพุทธองค์ผู้ทรงย่ำยีสัตว์ผู้มีมานะเลี้ยงไว้ดุจมารดา พระพุทธองค์ผู้ทรงเป็นที่ยอมรับนับถือของหมู่ทวยเทพ พระพุทธองค์ผู้ทรงทำลายมานะลงได้ พระคาถาบทนี้ ท่านสอนให้ภาวนาเพื่อทำคนแข็งให้อ่อน คือ ถ้าต้องเผชิญกับคน ที่ชอบแข็งข้อหรือแข็งกระด้าง พระโบราณาจารย์แนะนำให้ใช้คาถานี้แก้ไขเหตุการณ์ จากร้ายจะกลายเป็นดี จากศัตรูจะมาเป็นมิตร จากคนใจหยาบกระด้างจะเป็นคน สุภาพอ่อนโยนมีเมตตาจิตต่อตัวเรา ส่วนว่า อะ ระ หัง จะมีความหมายที่ลึกซึ้งและทรงความศักดิ์สิทธิ์แก่ผู้หมั่น บริกรรมภาวนาเป็นประจำเพียงใด โปรดติดตามครั้งต่อไป... “ภาวนา สัมมาอะระหัง แล้วความสุขสมหวังจะบังเกิด” เมล 1. รับมาอะระหัง สัมมา สัม ง ส้ม
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More