ความประเสริฐของพระภิกษุ วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน พฤษภาคม พ.ศ.2555 หน้า 106
หน้าที่ 106 / 144

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงความประเสริฐของพระภิกษุในการกำจัดกิเลสและนิสัยที่ไม่ดี โดยการปฏิบัติตามพระธรรมวินัย พระภิกษุจะสามารถสร้างนิสัยดีและบุญให้เกิดขึ้น มีกุศลจิตส่งผลดีต่อญาติโยมที่บำรุง ท่านเน้นความสำคัญของใจที่เมตตาและการอุทิศบุญไปให้ผู้ล่วงลับ ซึ่งจะนำมาซึ่งความสุขและความเจริญทั้งแก่ผู้ให้และผู้รับ บุญจะเกิดขึ้นอย่างเต็มเปี่ยม และเป็นการส่งเสริมให้ผู้ทำบุญมีความสุขต่อไป

หัวข้อประเด็น

-ความประเสริฐของพระ
-การกำจัดกิเลส
-นิสัยดีที่เกิดจากการปฏิบัติธรรม
-การสนับสนุนจากญาติโยม
-การอุทิศบุญ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๑๐๘ โดยสรุป ความประเสริฐของพระประการที่หนึ่งอยู่ตรงที่กำจัดกิเลสให้หมดไปตามลำดับ ๆ แม้ยัง ไม่หมดเด็ดขาด ก็ลดน้อยถอยลง กับการ ความประเสริฐของพระประการที่สองคือ กำจัดนิสัยไม่ดีไม่งามให้หมดไปพร้อม ๆ กำจัดกิเลสและเพิ่มพูนนิสัยดี ๆ ขึ้นมา เหมือนเมื่อดวงอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้า นอกจากกำจัดความ มืดให้หมดไปแล้ว ก็ยังเพิ่มความสว่างให้กับโลกด้วย ชีวิตพระเมื่อปฏิบัติตามพระธรรมวินัย นอกจากฆ่ากิเลส ฆ่านิสัยไม่ดีแล้ว นิสัยดี ๆ ก็ เกิดขึ้น พร้อมกันนั้นบุญก็เกิดตามมาโดยลำดับด้วย ผลพลอยได้ของญาติโยมก็คือ ได้เห็นการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง เมื่อมีโอกาสในภายภาคหน้า พระก็จะได้อบรมสั่งสอนให้เขาเหล่านั้นได้รู้ตาม ได้ประพฤติปฏิบัติ ได้ความประเสริฐติดตัวเขาไป ด้วย วิสัยของพระ วิสัยของผู้ประเสริฐ ย่อมไม่จับผิดใคร แต่จะตามระลึกถึงความดีที่ผู้อื่นทำไว้ แก่ตัว ความไม่ดีที่ใครทำแก่ตัวหรือทำแล้วกระทบกระทั่งมาถึงเรา ไม่จำ ไม่สนใจ ไม่เสียเวลา ไปนึกถึง จะนึกถึงแต่ความดีที่คนอื่นเขาทำให้กับเรา เมื่อพระภิกษุได้รับการบำรุงจากญาติโยม จะบำรุงด้วยข้าวปลาอาหาร เสนาสนะที่อยู่อาศัย หรือจีวรผ้านุ่งผ้าห่ม หยูกยาและเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ ในการศึกษาและประพฤติ ปฏิบัติธรรม ทำให้พระภิกษุสามารถประพฤติปฏิบัติธรรมได้ ปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ ได้สะดวกสบายขึ้น จนกระทั่งความประเสริฐภายในเกิดตามมาดังได้กล่าวไว้ข้างต้น เมื่อพระภิกษุได้รับการบำรุงแล้ว ก็เป็น “อริยประเพณี” ว่า ต้องมานึกถึงความประเสริฐที่ ตัวเองได้รับ โดยสำนึกว่าตัวของเรานี้ได้รับการบำรุงจากเจ้าภาพทั้งอดีต ทั้งปัจจุบัน ได้รับการ สนับสนุน ประคับประคองมาจากผู้มีพระคุณในอดีต อดีตที่ผ่านมาก่อนที่จะบวชด้วย แล้วตั้งกุศลจิต ขอให้ความประเสริฐในตัวซึ่งเกิดจากการบำรุงของญาติโยม ขอให้เขาเหล่านั้นได้บุญตามมาด้วย ในฐานะที่ส่งเสริมให้เกิดความประเสริฐเหล่านี้ในตัวพระ ส่งเสริมให้เกิดความประเสริฐเหล่านี้ขึ้น ในโลก และเป็นผู้ค้ำจุนพระพุทธศาสนาไปด้วยในตัว ขอให้บุญนี้ ความประเสริฐนี้ ส่งผลให้เขา เหล่านั้นมีแต่ความสุขความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป เมื่อตั้งจิตอย่างนี้แล้ว พระท่านก็จะให้พรเป็นภาษา บาลีตามประเพณีนิยมสืบต่อไป ด้วยจิตเมตตาที่แผ่ออกไป จะส่งผลเป็นความสุขเกิดขึ้นในใจของผู้รับทันที และส่วนที่นึกอุทิศ บุญกุศลให้ไปถึงแก่ผู้ล่วงลับ หากเขาอยู่ในสภาพที่รับได้ อยู่ในภพภูมิที่รับได้ บุญก็จะส่งผลให้มี ความสุขยิ่ง ๆ ขึ้นไป การที่พระท่านทำเช่นนี้ ท่านจึงเป็นเนื้อนาบุญที่สมบูรณ์ ผู้ที่ทำบุญกับพระก็เหมือนกับต่อ รับบุญจากพระ บุญก็บังเกิดเต็มเปี่ยมกับเขาด้วย เพราะได้เนื้อนาบุญที่ดีจากพระ เมื่อเป็นอย่างนี้ ญาติโยมที่ทำบุญกับพระก็มีแต่ความสุข ความเจริญ แล้วก็มีกำลังใจที่จะทำนุบำรุงพระภิกษุสามเณร ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ตลอดจนมีกำลังใจอบรมสั่งสอนลูกหลาน บริวารว่านเครือ ให้ประพฤติปฏิบัติธรรม ตามท่าน ผลดีและความดีทั้งมวลก็จะก่อเกิดต่อเนื่องเป็นลูกโซ่อย่างนี้
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More