ความสำคัญของความเคารพในพระพุทธศาสนา วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน พฤษภาคม พ.ศ.2555 หน้า 142
หน้าที่ 142 / 144

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับความเคารพและคุณธรรมในการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะในบริบทของพระพุทธศาสนาที่มีความสำคัญต่อการสร้างสังคมที่ดี และการปลูกฝังคุณธรรมในประชาชนทุกคน ความเคารพถือเป็นวัตถุประสงค์สำคัญที่ช่วยส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในธรรมะ และพัฒนาคุณธรรมในตัวเองและผู้อื่น ผ่านการเรียนรู้และการปฏิบัติธรรม เพื่อให้เกิดความดีในสังคม โดยการมีปัญญานั้น จะช่วยให้เราสามารถมองเห็นคุณความดีของผู้อื่นได้ และมีความอ่อนน้อมถ่อมตนตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปฏิบัติ นี่เป็นวิธีการที่จะสร้างสังคมที่น่าอยู่และยืนยาวอย่างแท้จริง เขียนขึ้นโดยมูลนิธิธรรมกายเพื่อการเผยแผ่ธรรมะในพระพุทธศาสนา

หัวข้อประเด็น

- ความเคารพในพระพุทธศาสนา
- ปัญญาและคุณธรรม
- การสร้างสังคมที่ดี
- แนวทางการปฏิบัติธรรม
- สืบทอดพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ที่ปรึกษา พระครูวิเทศปัญญาภรณ์ (สมบุญ สมมาปุญโญ) พระมหา ดร.สมชาย ฐานวุฑโฒ พระครูสมุห์วิษณุ ปญฺญาทีโป พระครูธรรมธรอารักษ์ ญาณารักโข พระครูใบฎีกาอำนวยศักดิ์ มุนิสกฺโก บรรณาธิการบริหาร พระสมบัติ รกฺขิตจิตโต กองบรรณาธิการ พระดร.สมศักดิ์ จนฺทสีโล, พระตรีเทพ ชินจุกุโร, พระสนิทวงศ์ วุฑฺฒิวํโส, พระมหาธีระ นาถธมฺโม, พระมหาจตุรงค์ จตฺตมโล, พระมหาเอก จนฺทูปโม พระธนรินทร์ สิริธโร, พระวรัช คุณงฺกโร พระสิปปภาส พฺรหฺมสโร, พระบริบูรณ์ ธมฺมวิชโช ผศ.สุภาศิริ พะหูชนม์, วรวรรณ ถนอมพงษ์, วันชัย ภัทรโกมล, วินิช พันธุ์วิริยรัตน์, สุธิดา จินดากิจนุกูล, รัดเกล้า ลิ่วเฉลิมวงศ์, น้ำผึ้ง พุ่มมาลี, ระพีพรรณ ใจภักดี, เมธินี จอกทอง, อรพรรณ วีระกูล, พงษ์วนาถ ดวงปาน, กำพล แก้วประเสริฐกุล, บุษบา ธาราสมบัติ กนกพร เทศนา, จันทร์จิรา มีเดช, รัตนา อรัมสัจจากุล, ประวีร์ ธรรมรักษ์, ผ่องศรี ทานาแซง, เทวี สุขศิริ, ปกรณ์ สิทธิวรนันท์ บรรณาธิการสารสนเทศ วรรณภา พลกลาง ฝ่ายภาพ ศูนย์ภาพนิ่งและบรรณาธิการภาพ ฝ่ายศิลปกรรม กองพุทธศิลป์, ล็อพงศ์ ลีลพนัง, ชัยชนะ กิตติโสภาพันธุ์ ภัทรา ศรีวสุธา, ศุภวิชฐ์ เหล่าเลิศพงษ์, สุพัตรา ปัญญาแสง, พีระ แสงงาม, สิริพันธุ์ สมาหารพันธุ์, สุภชา ศรีโสภิต ฝ่ายโฆษณา ปราณี ชัยผดุง ๐๘-๖๗๗๑-๒๒๖๘ ตฤณพรรษ ตํานานวัน ฝ่ายสมาชิก อรุณี พลกลาง ๐๘-๑๓๐๖-๕๓๙๓ โรงพิมพ์ บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จำกัด จัดทําโดย มูลนิธิธรรมกาย วารสาร “อยู่ในบุญ” เป็นวารสารเพื่อการเผยแผ่ธรรมะ ในพระพุทธศาสนาเป็นรายเดือน มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ ๑.เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจใน ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเกิดกำลังใจในการปฏิบัติธรรม เพื่อเข้า ถึงธรรมะภายใน ๒.เพื่อปลูกฝังคุณธรรมแก่ประชาชนทุก เพศ ทุกวัย ทุกอาชีพและทุกระดับการศึกษา ต.เพื่อถ่ายทอดความรู้ในพระพุทธ- ศาสนา ให้ง่ายแก่การนำไปใช้ให้เป็น ประโยชน์ในชีวิตประจําวัน ๔.เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้คนใน สังคมเป็นคนดีที่โลกต้องการ ๕.เพื่อเป็นสื่อกลางในการสืบทอดอายุ พระพุทธศาสนาให้เป็นที่พึ่งแก่ชาวโลกสืบไป ข้อดี..ของการมีความเคารพ การที่คนเราจะมีความเคารพได้นั้น.... ต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่ง เป็นทุนในใจก่อน คือ มีปัญญา เพราะหากไม่มีปัญญาแล้ว ก็ไม่สามารถ ตระหนักหรือมองเห็นความดีที่มีอยู่จริงของผู้อื่นได้ ตรงกันข้ามกลับ แสดงออกโดยคิดลบหลู่คุณท่านบ้าง ไม่ใส่ใจบ้าง ทะนงตัวบ้าง เพ่งโทษจับผิดบ้าง ด้วยเหตุนี้คนมีปัญญามากในระดับที่สามารถ ตระหนักในคุณความดีของผู้อื่นได้นั้น จึงถือว่าเป็นคนพิเศษจริง ๆ เพราะใจของเขาได้ยกสูงจนพ้นจากความถือตัวต่าง ๆ ไม่มีทิฐิมานะ และเปิดกว้างพร้อมที่จะรองรับคุณธรรมความดีจากผู้อื่นเข้าสู่ตน ดังเช่นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นบรมครูที่ไม่มีใครเสมอเหมือน พระองค์ไม่มีอติมานะ ไม่ถือตัว ไม่เย่อหยิ่ง แต่กลับมีความเคารพ และอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นเลิศ ดังนั้นเมื่อบารมีเต็มเปี่ยม พระองค์จึง มาเกิดในตระกูลสูงที่ทุกชนชั้นต้องก้มกราบพระองค์ด้วยความเคารพ เลื่อมใส และด้วยผลบุญนี้เอง แม้เวลาที่พระองค์เสด็จเข้าไปในเรือน ของมหาทุคตะที่อยู่ต่ำ ซึ่งคนธรรมดาทั่วไปต้องก้มศีรษะลงจึงจะ สามารถเข้าไปในเรือนนั้นได้ แต่ด้วยอำนาจบุญอันเต็มเปี่ยมที่พระองค์ ทรงสั่งสมในเรื่องของความเคารพและอ่อนน้อมถ่อมตนมามาก จึง ทำให้แผ่นดินบริเวณหน้าเรือนของมหาทุคตะยุบตัวลง และเรือนก็ ยืดตัวสูงขึ้น ทำให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปโดยไม่ต้องก้ม พระเศียรเลย เมื่อพระองค์เสด็จเข้าไปแล้ว ทุกอย่างก็กลับคืนสู่สภาพ ปกติ นี่เป็นเพราะบุญญานุภาพที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราสั่งสม ในเรื่องความเคารพอ่อนน้อมถ่อมตนมามากนั่นเอง.....
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More