ข้อความต้นฉบับในหน้า
แด่...นักสร้างบารมี ต
๔๙
ร้อนที่เลว ไม่เหมือนโลหะ ถ้าเอาปลายโลหะข้างหนึ่ง
ใส่ในเตาไฟ ครู่เดียวปลายอีกข้างหนึ่งก็ร้อนตาม แต่
นํ้าไม่เป็นอย่างนั้น
ถ้าใครดื่มน้ำมากสักหน่อยในต้นฤดูหนาว ไม่ว่า
อุณหภูมิภายนอกจะเย็นแค่ไหน ก็จะรู้สึกหนาวแต่ผิว ๆ
เท่านั้น ไม่กระทบกระเทือนอวัยวะภายใน เพราะมีฉนวน
คือน้ำ ห่อหุ้มแช่อิ่มเซลล์ต่าง ๆ ไว้ให้ชุ่มพอควร แต่ถ้า
ใครดื่มน้ำน้อย ทันทีที่อากาศเปลี่ยนแปลง ระดับ
อุณหภูมิลดลง มันไม่ลดเฉพาะที่ผิวแต่มันลดลึกเข้าไป
ในตัว บางทีก็แทรกเข้าสู่อวัยวะภายใน เพราะฉะนั้นมี
โอกาสจะเป็นไข้ต้นฤดู หรือไข้หัวลม ได้ง่ายกว่าปกติ
ประเภทที่สอง คือพวกที่ท้องผูก ใครที่ท้องผูก
บ่อย ๆ สองวันสามวันถ่ายครั้งหนึ่ง พวกนี้ก็มีสาเหตุ
เดียวกันกับพวกแรก คือน้ำในร่างกายน้อยจัด จน
กระทั่งท้องผูก ปรับอุณหภูมิในร่างกายไม่ค่อยจะทัน
โอกาสที่จะเป็นไข้หัวลม หรือไข้ต้นฤดูก็เลยมีมาก
ประเภทที่สาม พวกที่ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย