การประพฤติพรหมจรรย์และการพิจารณาอาหาร แด่นักสร้างบารมี 3 หน้า 14
หน้าที่ 14 / 124

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงการประพฤติพรหมจรรย์ที่เกี่ยวข้องกับการระงับเวทนาเก่าและการไม่สร้างทุกขเวทนาใหม่ โดยเน้นที่ความสงบในจิตใจขณะฉันภัตตาหาร การพิจารณาและการบูชาก่อนอาหารเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้พระภิกษุไม่เป็นหนี้ญาติโยม การมองไปที่สำรับและการสงบใจในขณะฉันจะช่วยให้สามารถรักษาความสงบได้ตลอด โดยเป็นธรรมในพระพุทธศาสนา

หัวข้อประเด็น

-การประพฤติพรหมจรรย์
-การพิจารณาก่อนฉันอาหาร
-ความสำคัญของการสงบใจ
-บทบาทของพระภิกษุในพิธีฉัน
-การสร้างความสงบในการใช้ชีวิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แด่...นักสร้างบารมี ต ๑๘ การประพฤติพรหมจรรย์ ด้วยการระงับเวทนาเก่า คือ ความหิว และไม่ทำให้ทุกขเวทนาใหม่เกิดขึ้น อนึ่ง ความเป็นไปโดยสะดวกแห่งอัตภาพนี้ด้วย ความเป็นผู้ หาโทษมิได้ด้วย ความเป็นอยู่โดยผาสุกด้วย จักมีแก่ เราดังนี้ เมื่อพิจารณาอาหารตามบทสวดจบแล้วจึงเริ่ม ต้นฉันภัตตาหาร แม้ใจจะไม่สงบเท่ากับบูชาข้าวพระ พุทธในตอนเช้า แต่ใจก็สงบได้พอสมควร และอยู่ใน ความพิจารณา หากพระภิกษุทำได้อย่างนี้เสมอ การ ฉันภัตตาหารแต่ละมื้อก็จะไม่เป็นหนี้ญาติโยม แต่ว่าถ้า พวกเราไปต่างวัดจะเห็นว่าก่อนที่พระท่านจะฉัน ท่าน จะมองนิ่ง ๆ ที่สำรับกับข้าว ทอดสายตาลงต่ำอยู่สัก นาทีสองนาที ที่ท่านทำอย่างนั้นก็เพราะต่างคนต่าง สวดปฏิสังขาโยนิโส ฯลฯ พิจารณาอาหารอยู่ในใจ พอ สวดจบแล้วท่านก็ฉัน ๆ ขณะที่ฉันไป ท่านก็พิจารณาไป ฉันไป ไม่พูดไม่ คุยกัน ยกเว้นมีเรื่องเร่งด่วนจำเป็นจริง ๆ จึงจะพูด แต่ท่านก็พยายามพูดเสียงเบา ๆ และแบบรวบรัดพูด
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More